กบง.ให้ขยายเวลาSCOD โรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างล่าช้า เป็นบางโครงการ ตามความเหมาะสม

cof
- Advertisment-

คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ซึ่งประชุมเมื่อวันที่4ธ.ค.ที่ผ่านมา เห็นชอบ ขยายกรอบเวลาการผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์(SCOD) ให้ผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า พลังงานทดแทน ทั้งโครงการ SPP Hybrid Firm โครงการ VSPP  ประเภทขยะอุตสาหกรรม และขยะชุมชน  ที่ก่อสร้างล่าช้า  โดยให้พิจารณาเป็นบางโครงการ ตามความเหมาะสม  ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงานกกพ.)นำเสนอโดยระบุเป็นเหตุสุดวิสัยด้านการเข้าพื้นที่และจัดทำรายงาน EIAล่าช้า 

นาย คมกฤช ตันตระวาณิชย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2562 ได้เห็นชอบให้ขยายกรอบระยะเวลาการผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ที่ระบุในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(SCOD)สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ไม่สามารถ SCOD ได้ตามกำหนด เป็นบางโครงการ ตามความเหมาะสม  ตามที่ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน นำเสนอ  ซึ่งหลังจากนี้จะมีการส่งต่อให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) พิจารณา ในวันที่ 16 ธ.ค.2562นี้

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center-ENC ) รายงานว่า  โครงการโรงไฟฟ้าที่ขอเลื่อน SCOD ทั้งหมดมี 14 ราย กำลังการผลิตรวมกว่า 300เมกะวัตต์  แบ่งเป็น โครงการ VSPP (ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมากขนาดต่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ ) ประเภทขยะอุตสาหกรรม 2 ราย รวมกำลังผลิตติดตั้ง 11 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2562 แต่ขอเลื่อน SCOD เป็น มี.ค.และธ.ค. 2563 ตามลำดับ ,โครงการ VSPP ประเภทขยะชุมชน 1 ราย กำลังการผลิตติดตั้ง 9.90 เมกะวัตต์ กำหนด SCOD วันที่ 31 ธ.ค. 2564 ขอเลื่อนเป็น ธ.ค. 2565 และโครงการ SPP Hybrid Firm (ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กแบบเชื้อเพลิงผสมผสานที่ต้องผลิตไฟฟ้าเข้าระบบแบบเสถียร) จำนวน 11 ราย รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 284 เมกะวัตต์ โดยกลุ่มนี้ต้องลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(PPA)ภายใน  13 ธ.ค.2562 แต่ขอเลื่อน PPA เป็นปี 2563 และเลื่อนกำหนด  SCOD จากปี2563-2564  เป็นปี 2564-2565 แต่บางรายขอเลื่อนแบบยังไม่ระบุเวลา

- Advertisment -

ทั้งนี้โครงการส่วนใหญ่ก่อสร้างเสร็จไป 80-90% แต่จะ SCOD ไม่ทันตามกำหนดเนื่องจากเหตุสุดวิสัยทำให้เกิดความล่าช้า เช่น การทำความเข้าใจกับชุมชน และการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และหากผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าเข้าระบบไม่ทันตามสัญญาจะถูกยกเลิกสัญญาด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่มีความตั้งใจผลิตไฟฟ้าจริงและมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(PPA)แล้ว สำนักงาน กกพ.จึงนำเสนอ กบง.ขอผ่อนผันระยะเวลา SCOD สำหรับผู้ประกอบการบางรายซึ่งจะพิจารณาเป็นรายกรณีตามความเหมาะสม

Advertisment

- Advertisment -.