Gas Plan 2018 เคาะตัวเลขนำเข้าLNG ใหม่ให้เพียงพอความต้องการโรงไฟฟ้าก๊าซ

- Advertisment-

กระทรวงพลังงาน เตรียมเคาะตัวเลขนำเข้าLNG ใหม่ ในGas Plan 2018 ซึ่งมีแนวโน้มมากกว่าGas Plan2015เดิม ที่34ล้านตันให้สอดรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว หรือ PDP2018 ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้วเมื่อ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยLNG จะเป็นส่วนเติมเต็มปริมาณก๊าซฯจากอ่าวไทย  จากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) และก๊าซจากเมียนมา ให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในโรงไฟฟ้า ภาคขนส่งและอุตสาหกรรม  

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานจะมีการจัดทำแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ(Gas Plan)เป็นแผนแรก ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ.2561-2580 หรือ PDP 2018 ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2562 ที่ผ่านมา โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จะพิจารณาปริมาณก๊าซฯ จากอ่าวไทยว่ามีปริมาณเท่าไหร่และใช้ได้อีกกี่ปี  ซึ่งหากไม่เพียงพอจะต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)มารองรับความต้องการใช้โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่งที่มีความต้องการใช้สูง รวมทั้งต้องพิจารณาด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคที่จะมารองรับการนำเข้า LNG ในอนาคตด้วย

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center-ENC) รายงานว่า ใน Gas Plan 2015 ซึ่งเป็นฉบับเดิมนั้น ดำเนินการสอดคล้องกับแผนPDP2015 ที่มีการใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้าในสัดส่วนที่ลดลงจากปัจจุบันร้อยละ60 เหลือประมาณร้อยละ30-40 ในปี2579 ในขณะที่เพิ่มสัดส่วนถ่านหิน ขึ้นมาจากร้อยละ19  มาอยู่ที่ ร้อยละ20-25  แต่ แผนPDP2018 ที่เป็นฉบับล่าสุดนั้น มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการใช้ก๊าซขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ53 ในปี2580 ในขณะที่ถ่านหินถูกลดสัดส่วนลงมาอยู่ที่ ร้อยละ12  จึงมีแนวโน้มที่การนำเข้าLNG ใน Gas Plan 2018 จะเพิ่มขึ้นจาก Gas Plan 2015  ที่จะต้องนำเข้าLNG 34ล้านตันในปี2579

- Advertisment -

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า  ขณะนี้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับแผนปริมาณการผลิตก๊าซในอ่าวไทย รวมทั้ง พื้นที่JDA ในอนาคต  และ ในส่วนของปตท.ก็แจ้งข้อมูลถึงปริมาณก๊าซที่จะมาจากเมียนมาตามสัญญา ที่เหลืออยู่ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานพิจารณาแล้ว  ซึ่งจะทำให้ทราบว่าจะต้องมีการนำเข้าLNG  ในปริมาณเท่าไหร่และในปีใด เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการผลิตไฟฟ้า และการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม   รวมทั้งจะเป็นการนำเข้าแบบSPOT  หรือแบบสัญญาระยะยาว  สัญญาระยะกลาง อย่างไร    จากที่ผ่านมา มีสัญญาระยะยาวที่ปตท.เป็นผู้นำเข้าเพียงรายเดียวอยู่แล้ว 5.2 ล้านตันต่อปี  โดยที่ Gas Plan2018 น่าจะมีการกำหนดรายละเอียดดังกล่าว

Advertisment

- Advertisment -.