ซีอีโอ GC คนใหม่หวังสหรัฐฯเป็นฐานธุรกิจแห่งที่2 เตรียมพร้อมเงินลงทุน2แสนล้านใน5ปี

- Advertisment-

ซีอีโอคนใหม่ของ GC หวังสหรัฐอเมริกา เป็นฐานธุรกิจแห่งที่2(Second Home Base)  คาดประกาศความชัดเจนโครงการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ในรัฐโอไฮโอ ได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี2563 พร้อมมองหาโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ทั้ง Venture Capital  และการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ(Mergers and Acquisitions- M&A)ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และให้ผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสม  โดยมีการเตรียมพร้อมเงินลงทุนใน 5 ปีข้างหน้ากว่า 1.5-2แสนล้านบาท

นาย คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า  การลงทุนที่สหรัฐอเมริกาเพื่อเป็นSecond Home Base ของบริษัท อยู่ภายใต้กลยุทธ์ Step Out ซึ่งโครงการศึกษาการลงทุนปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ในรัฐโอไฮโอ กับพันธมิตรคือ บริษัท Dealim Industrial ของเกาหลีใต้ คาดว่าจะสามารถประกาศความชัดเจนในการลงทุนได้ ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 และจะเริ่มมีการทะยอยใส่เงินลงทุนเข้าไป โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 5 ปี

นายคงกระพัน กล่าวว่า การมองสหรัฐอเมริกา เป็นฐานธุรกิจแห่งที่ 2 เนื่องจาก GC เข้าไปลงทุนอยู่ก่อนเมื่อ10 ปีที่แล้ว กับบริษัท Nature work เพื่อผลิตไบโอพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้เงินลงทุนไปแล้วประมาณ 500-600ล้านเหรียญสหรัฐ  ในขณะที่โครงการปิโตรเคมีคอมเพล็กซ์ ที่จะมีกำลังการผลิตเอทิลีน 1.5 ล้านตันต่อปี เพราะมองเห็นศักยภาพของสหรัฐอเมริกาที่มีความได้เปรียบในด้านต้นทุนวัตถุดิบ คืออีเทน( Ethane) และยังมีตลาดขนาดใหญ่ภายในประเทศรองรับ

- Advertisment -

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในโครงการดังกล่าวถูกคิดและเริ่มศึกษามาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจนาน เพราะเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง จึงต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ของโครงการเช่น ผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม  ข้อกฏหมายที่เกี่ยวข้องเงื่อนไขสัญญาการก่อสร้างโครงการ และการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการ

คงกระพัน อินทรแจ้ง ซีอีโอคนใหม่ของGC

นายคงกระพัน กล่าวว่า กลยุทธ์ Step Out ยังรวมไปถึงการใช้สหรัฐอเมริกาเป็นฐานธุรกิจในการมองหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆในVenture Capital  และการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ(Mergers and Acquisitions- M&A)ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และให้ผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสม  ซึ่งในปี2563 น่าจะมีความชัดเจนในการลงทุน

เขากล่าวด้วยว่า การลงทุนใน 5 ปีข้างหน้า GC มีการเตรียม เงินลงทุนเอาไว้พร้อมแล้วประมาณ 1.5-2 แสนล้านบาท

กลยุทธ์ Step Out ของ GC ที่มองสหรัฐอเมริกาเป็นฐานธุรกิจแห่งที่2ของบริษัท

 สำหรับนโยบายการทำงานของซีอีโอGC คนใหม่คือ “สานต่อ ต่อยอด” โดยนอกจากกลยุทธ์ Step Out แล้ว ยังมีอีก 2 กลยุทธ์ คือ Step Change คือการสานต่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับฐานการผลิตปัจจุบันของบริษัทฯ ที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่ม Plant Reliability ให้อยู่ในระดับ 1st Quartile และ ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจด้วยการขยายเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ปลายน้ำและ High Value Business รวมถึงการขยายตลาดในภูมิภาค South East Asia

และกลยุทธ์Step Up คือสานต่อแนวคิดการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

สำหรับความก้าวหน้าโครงการลงทุน ในแต่ละโครงการนั้น มีดังนี้

ในส่วนของโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต Olefins Reconfiguration Project (ORP) เป็นการขยายกำลังการผลิตผ่านการลงทุนใน Naphtha Cracker  เพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบที่บริษัทฯ มีอยู่แล้ว ต่อยอดธุรกิจปลายน้ำในอนาคตด้วยกำลังการผลิตเอทิลีน 500,000 ตันและ โพรพิลีน 250,000 ตัน โดยอยู่ในระหว่างการก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว ประมาณ 73% คาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2563 มูลค่าโครงการประมาณ 36,000 ล้านบาท

โครงการโพรพิลีนออกไซด์ (Propylene Oxide :PO) และ โครงการโพลีออลส์ (Polyols) เพื่อผลิตโพรพิลีนออกไซด์ (PO) 200,000 ตันต่อปี และผลิตภัณฑ์โพลีออลส์ (Polyols) 130,000 ตันต่อปี มีมูลค่าโครงการประมาณ 34,000 ล้านบาท โดยทั้ง 2 โครงการเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์โพรพิลีนไปสู่ผลิตภัณฑ์ปลายทางสายโพลียูรีเทน (Polyurethane) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ High Value Business ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โครงการ PO คืบหน้าไปแล้ว 79% และโครงการโพลีออลส์ คืบหน้าไปแล้ว 77% คาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2563

โครงการร่วมลงทุนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ ดำเนินการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกวิศวกรรมชั้นสูงใน 2 โครงการ ได้แก่  PA9T 13,000 ตัน/ปี และ HSBC 16,000 ตัน/ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565 สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่ต้องการขยายธุรกิจปิโตรเคมีขั้นปลายเกรดพิเศษ เพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive) และ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E) ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท คุราเร่ จีซี แอดวานซ์ แมททีเรียลส์ จำกัด (KGC) มูลค่าโครงการประมาณ 15,000 ล้านบาท

โครงการพลาสติกรีไซเคิล เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางด้าน Circular Economy ของ GC โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว มาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการ Recycle ได้เม็ดพลาสติกคุณภาพสูงระดับ Food-Grade และ Packaging-Grade

 ร่วมมือกับพันธมิตร แอลพลา  (ALPLA) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงระดับโลก ปฏิวัติการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน

• จัดตั้งบริษัทร่วมทุน บริษัท เอ็นวิคโค จำกัด (ENVICCO Limited) ที่นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย มาบตาพุด จังหวัดระยอง เพื่อผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูง ชนิด rPET ขนาด 30,000 ตันต่อปี และ rHDPE ขนาด 15,000 ตันต่อปี คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในต้นปี 2563 และคาดว่าจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2564 มูลค่าโครงการประมาณ 2,000 ล้านบาท

Advertisment

- Advertisment -.