- ปัจจุบันค่าครองชีพของคนไทยมีต้นทุนที่สูงขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจและภาวะความผันผวนของราคาพลังงาน ค่าไฟเป็นปัจจัยหนึ่งที่หลายๆ คนอยากลดภาระค่าใช้จ่ายด้านนี้ลงด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เอง ประกอบกับการพัฒนาเข้าสู่ยุค Prosumer ที่ทำให้ประชาชนสามารถเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าได้เองด้วย ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ได้ให้การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) หรือโครงการโซลาร์ภาคประชาชนมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน โดยนอกเหนือจากผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองแล้วยังมีโครงการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินเข้าระบบได้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้วย
- วันนี้จะขอแนะนำแนวทางปฏิบัติตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และหลังการดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาว่าหากเราคิดจะติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาต้องพิจารณาเรื่องใดบ้าง
- ก่อนการติดตั้ง: มีเรื่องที่ต้องสำรวจคุณลักษณะสำคัญของบ้านอยู่อาศัยที่จะติดแผงโซลาร์เซลล์
บนหลังคาว่าควรพิจารณาเรื่องสำคัญ ๆ ดังนี้ - พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของบ้านที่ติดตั้งแล้วคุ้มค่า ส่วนใหญ่ใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวัน ค่าไฟ 7,000 – 10,000 บาท/เดือน
- ดูบิลค่าไฟฟ้า ต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยประเภทที่ 1
- โครงสร้าง/พื้นที่หลังคา โดยโครงสร้างหลังคาต้องแข็งแรง มีพื้นที่หันรับแสงแดดซึ่งควรหันแผงไปด้านทิศใต้เพราะจะได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน และไม่แนะให้นำหันแผงไปทางทิศเหนือเพราะได้รับแสงน้อยที่สุด
- เน้นการผลิตเพื่อใช้เองมากกว่าขายไฟฟ้าส่วนเกิน
- ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ : เมื่อสำรวจคุณลักษณะของหลังคาบ้านที่สามารถติดตั้งได้แล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการดำเนินการในการติดตั้ง และการยื่นขออนุญาตต่างๆ ดังนี้
- ยื่นใบอนุญาตก่อสร้างต่อหน่วยงาน (เช่น สำนักงานเทศบาล อบต.) เพื่อดัดแปลงบนหลังคาก่อนติดตั้ง
- แจ้งการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (กฟน./กฟภ.) เพื่อตรวจสอบขนาดกำลังผลิตติดตั้ง
-หากขายไฟฟ้าส่วนเกินขนาดไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) และยื่นขอเข้าร่วมโครงการฯ ราคารับซื้อ 2.20 บาท/หน่วย
-หากไม่ขายไฟฟ้าคืนติดตั้งได้มากกว่า 10 กิโลวัตต์
- เริ่มดำเนินการจัดหาแผงโซลาร์เซลล์ หาผู้ให้บริการติดตั้ง
- ราคาจะขึ้นอยู่กับการเลือกระบบแผงโซลาร์เซลล์ เฉลี่ย 20,000 – 30,000 บาท/กิโลวัตต์
- ติดตั้งแล้วแจ้งกลับไปที่การไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบ
- หากผ่านก็นำมาขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าต่อสำนักงาน กกพ.
- สำนักงาน กกพ.ประสานงานการไฟฟ้าและเปลี่ยนมิเตอร์เป็นระบบดิจิทัล
- หลังติดมิเตอร์เสร็จจะทราบวันเริ่มต้นขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) กรณีมีการขายไฟฟ้าส่วนเกิน
- หลังการติดตั้ง: การดูแลรักษาแผงโซลาร์เซลล์หลังการติดตั้งให้เรียบร้อย มีความสำคัญเพราะจะส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพในการรับแสงแดด
- การตรวจสอบอุปกรณ์เหล่านี้
-แผงโซลาร์เซลล์ : ทำความสะอาดแผงเป็นประจำเพื่อขจัดฝุ่นและสิ่งสกปรก หมั่นตรวจดูแผงที่อาจแตกหัก หรือสีเปลี่ยนไปจากเดิม ตลอดจนตรวจดูต้นไม้บริเวณใกล้เคียงไม่ให้บังแสงแดด
-อุปกรณ์เชื่อมต่อ : เช่น แบตเตอรี่ สายไฟ กล่องอุปกรณ์ต่างๆ ควรป้องกันความเสียหายจากแมลง หรือสัตว์ตัวเล็ก
- ตรวจสอบบริการหลังการขายของผู้ให้บริการติดตั้งว่ารับประกันอย่างไรบ้าง
การติดตั้ง Solar Rooftop ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน
รวมถึงบ้านอยู่อาศัยที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงเวลากลางวัน หากท่านมีข้อสงสัย หรือ
ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา สำหรับภาคประชาชน ประเภทบ้านอยู่อาศัย หรือที่เรียกว่า โซลาร์ภาคประชาชน” สำหรับบ้านอยู่อาศัย
ที่มีขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ สามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์ สำนักงาน กกพ. www.erc.or.th
.