เปิด Time Line กองทุนน้ำมันฯ ปี 65 ฝ่าวิกฤตซ้อนวิกฤตด้านพลังงาน

- Advertisment-

สถานการณ์ด้านราคาพลังงานในปี 2565 ที่ผ่านมา เกิดวิกฤตซ้อนวิกฤต หลังจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 เริ่มซาลงทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็กลับเกิดวิกฤตสงครามระหว่างรัสเซีย – ยูเครนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ขึ้นมาอีก จนกลายเป็นวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง กินระยะเวลานานถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อภาวะการครองชีพของประชาชน รวมทั้งภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวม เฉลี่ยราคาน้ำมันดีเซล (Gas Oil) ปี 2565 อยู่ที่ 135.54 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล หรือเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าถึง 74.26%

สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) ผู้ดูแลบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยพยุงราคาพลังงานในประเทศในช่วงวิกฤตพลังงาน วันนี้จึงได้รวบรวม Time Line สำคัญๆ ของการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงที่ผ่านมา

ปี 2564 >> กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้เข้าไปรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลตั้งแต่ ต.ค.- ธ.ค. 2564

- Advertisment -

-ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยอยู่ที่ 90.06 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

-อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 33.55 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

-ราคาเฉลี่ยก๊าซหุงต้ม LPG Cargo 773.13 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือ 440 บาทต่อถังขนาด 15 กก.

-สิ้นปี 2564 ติดลบ 4,500 ล้านบาท จากราคาน้ำมันและก๊าซที่ปรับสูงขึ้น

มาตรการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง >>      

-ตรึงราคาดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร

-ตรึงราคา LPG 318 บาท/ถังขนาด 15 กก.   

-ขอความร่วมมือผู้ค้าคงค่าการตลาดดีเซลที่ 1.40 บาท/ลิตร

-ปรับสัดส่วนผสมไบโอดีเซลบี 100 จากบี 7 เหลือ บี5

ม.ค.- กลางเดือน ก.พ. 2565 >> ราคาน้ำมันโลกสูงขึ้นต่อเนื่อง สถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบมากขึ้น       

มาตรการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง >>

-เพิ่มการหารือกระทรวงการคลังในการปรับลดภาษีสรรพสามิตดีเซลเพื่อให้ราคาขายปลีกลดลง

24 ก.พ. 2565 >> รัสเซียโจมตียูเครน เกิดวิกฤตพลังงาน ราคาน้ำมันดิบสูงสุด 140 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงสุดในรอบ 14 ปี

-ราคาดีเซล 176.33 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

-อัตราแลกเปลี่ยน 33.33 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

-ราคาLPG Cargo 912.26 เหรียญสหรัฐ/ตัน

ไตรมาสที่ 1: ม.ค.- มี.ค.2565 >> กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 37,592 ล้านบาท     

มาตรการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง >>

-กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลสูงสุด 14 บาท/ลิตร เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2565

-ลดการอุดหนุนราคาก๊าซ LPG ตั้งแต่ 1 เม.ย.2565 ปัจจุบัน (ม.ค.66) ราคาอยู่ที่ 408 บาท/ถังขนาด 15 กก.

-ลดการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล โดยเริ่มขยับราคาขึ้นเป็น 32 บาท/ลิตร เมื่อ 1 พ.ค.2565 ปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกิน 35 บาท/ลิตร

-กระทรวงการคลังช่วยสนับสนุนโดยลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงจาก 5.99 บาท/ลิตร เหลือ 1.34 บาท/ลิตรจนถึงปัจจุบัน

ไตรมาสที่ 2: เม.ย.- มิ.ย.2565 >> ตลาดน้ำมันโลกตึงตัวมากจากเหตุการณ์รัสเซีย-ยูเครน + โอเปกพลัสไม่เพิ่มโควตาการผลิตน้ำมัน + การคว่ำบาตรด้านพลังงานต่อรัสเซีย ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 130,000 ล้านบาท

ไตรมาสที่ 3: ก.ค. – ก.ย.2565 >> วิกฤตราคาน้ำมันโลกยังไม่คลี่คลาย กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุนต่อเนื่อง

มาตรการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง >>

-กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเร่งหาแหล่งเงินกู้เสริมสภาพคล่อง ประสานงานกระทรวงการคลังผ่านกลไกอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) จัดหาแนวทางการกู้ยืมเงิน

ปลายปี 2565: พ.ย.- ธ.ค. >> ราคาน้ำมันโลกเริ่มอ่อนตัว  

มาตรการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง >>

-กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเริ่มเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทำให้มีสภาพคล่องมากขึ้นภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ

-สกนช.ได้ดำเนินการกู้เงินรอบแรก 30,000 ล้านบาทลงนามในสัญญาเรียบร้อยแล้วกับธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน

1 ม.ค. 2566 >> กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 121,491 ล้านบาท โดยบัญชีน้ำมันติดลบ 77,191 ล้านบาท ส่วนก๊าซ LPG ติดลบ 44,300 ล้านบาท โดยสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มติดลบลดลง

– ล่าสุด 8 ม.ค.2566 >> กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 119,771 ล้านบาท

มาตรการของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง >>

-เตรียมดำเนินการแผนการกู้เงินต่อจากนี้ไปในกรอบวงเงินที่เหลือ 120,000 ล้านบาท จะประสานกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเพื่อบรรจุวาระการกู้ยืมเงินต่อไป

Advertisment

- Advertisment -.