ปรับร่างPDPใหม่ ไม่ให้กฟผ.แข่งเอกชน

6156
- Advertisment-

กระทรวงพลังงาน ปรับปรุงร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว(PDP)ฉบับใหม่ เปลี่ยนโรงไฟฟ้าที่กฟผ.ต้องแข่งขันกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) กว่า8,300เมกะวัตต์ เป็นโรงไฟฟ้าใหม่ พร้อมศึกษาแนวทางสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนไตรเอนเนอจีและโรงไฟฟ้าใหม่ ปี2566-2567 จำนวน1,400เมกะวัตต์ หลังแผนPDPผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่24ม.ค.2562นี้

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีการปรับปรุงร่างแผนPDPฉบับใหม่หลังจากที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศก่อนนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของ กพช.ในวันที่ 24ม.ค.2562นี้

โดยในประเด็นสำคัญที่มีการปรับปรุฝคือในส่วนโรงไฟฟ้าที่ระบุว่าจะเปิดให้มีการแข่งขันระหว่างIPPกับ กฟผ. ประมาณ8,300เมกะวัตต์ นั้น ให้ระบุเป็นโรงไฟฟ้าโรงใหม่  ซึ่งจะมากำหนดอีกครั้งว่า จะเป็นประมูลเฉพาะIPP  หรือจะเป็นส่วนที่ให้ กฟผ.ลงทุนโดยไม่ต้ งแข่งขัน ทั้งนี้ เพราะตามพ.ร.บ.กฟผ. นั้นไม่สามารถที่จะไปแข่งขันกับIPPได้โดยตรง ยกเว้น บริษัทลูกของกฟผ. อย่าง RATCH หรือ EGCO Group

- Advertisment -

ทั้งนี้หลังจากที่แผนPDPฉบับใหม่ ผ่านความเห็นชอบจากกพช.แล้ว กระทรวงพลังงาน จะมีการจ้างที่ปรึกษาในเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าหลักที่จะมาทดแทนโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี ขนาด 700 เมกะวัตต์ ที่จะหมดอายุในปี 2566 และสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตที่จะเข้าระบบในปี 2567อีก700เมกะวัตต์ รวมเป็น 1,400 เมกะวัตต์  ว่าควรจะเป็นการเปิดประมูล IPP  การต่ออายุสัญญาให้กับIPPรายเดิม หรือให้ กฟผ. เป็นผู้ลงทุน

นอกจากนี้ในการปรับปรุงแผนPDPฉบับใหม่ ยังจะนำความเห็นขอฃภาคเอกชนเช่น ความเห็นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ที่ส่งหนังสือขอให้ทบทวนแผน PDP เพื่อให้ข้อมูลถูกต้องชัดเจน รวมถึงความไม่มั่นใจในการผลิตไฟฟ้าเพื่อซื้อขายกันเองระหว่างภาคเอกชน (IPS) เนื่องจากกระทรวงพลังงานมีการชะลอการรับซื้อไฟฟ้า 8 ปี ช่วงปี2562-2569 มาพิจารณาด้วย  โดยยังเห็นว่า หากเอกชนสามารถที่จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่มีความมั่นคงต่อระบบ และไม่ต้องให้รัฐมีการอุดหนุนค่าไฟฟ้าจนเป็นภาระต่อค่าเอฟที ก็สามารถที่จะเสนอขายไฟเข้าระบบเป็นรายโครงการได้  แต่ในช่วงระหว่างปี2562-2563 กระทรวงพลังงานจะยังไม่มีนโยบายที่จะซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเข้าระบบ ยกเว้นโครงการที่มีการทำสัญญากันไว้แล้ว เช่น SPP Hybrid Firm ที่จะไม่มีผลกระทบ
นายกุลิศ ยังกล่าวด้วยว่า การส่งเสริมให้เอกชนซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนระหว่างภาคเอกชนกันเอง โดยที่ไม่กระทบกับระบบรวมจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้การผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าระบบอย่างเสถียรเพิ่มขึ้น โดยระหว่างนี้หากภาคเอกชนประสบปัญหาด้านกฎระเบียบสามารถแจ้งมายังกระทรวงพลังงานเพื่อประสานไปยังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป

Advertisment