เอสโซ่สนับสนุนการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับอาชีวศึกษา ครั้งที่ 32

ดร. ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ (ขวา) กรรมการ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) ดร. นิรุตต์ บุตรแสนลี (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ร่วมในพิธีจำกัด (มหาชน) มอบเงินสนับสนุนจำนวน 300,000 บาท ให้กับ ศ. ดร. สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ (กลาง) อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ โดยมี ดร. นิรุตต์ บุตรแสนลี (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ร่วมในพิธี
- Advertisment-

บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 32 พร้อมทั้งแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือก และประกาศผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศประจำปี ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี

ในโอกาสนี้ ดร. ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ (ขวา) กรรมการ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้มอบเงินสนับสนุนจำนวน 300,000 บาท ให้กับ ศ. ดร. สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ (กลาง) อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ เพื่อส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ในระดับอาชีวศึกษาและการนำความรู้มาพัฒนาเป็นโครงงานวิจัยที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงกับชุมชน โดยมี ดร. นิรุตต์ บุตรแสนลี (ซ้าย) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา ร่วมในพิธี

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษาระดับชาติได้ดำเนินการประกวดมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ มีโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลระดับชาติ เข้าร่วมประกวดจำนวนทั้งสิ้น 40 โครงการ แบ่งเป็น :

- Advertisment -

  • โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 20 โครงงาน โดยผลงานชนะเลิศในปีนี้ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ในโครงงานเรื่องผลของน้ำยางพาราและโซเดียมซิลิเกตที่มีผลต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ผ้าทอใยสับปะรดพิมพ์ลายพฤกษชาติ

  • โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 20 โครงงาน ผลงานชนะเลิศในปีนี้ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสตูล ในโครงงานเรื่องการเตรียมสารสีจากสีใบสักทองสำหรับประยุกต์ใช้ในงานศิลปะ

บริษัทเอสโซ่ฯ ได้ให้การสนับสนุนโครงการมาอย่างต่อเนื่องถึง 32 ปี และเล็งเห็นความสำคัญของการผลิตชิ้นงานเพื่อแก้ปัญหาในท้องถิ่น ในปีนี้ จึงมีการคัดเลือกโครงงานที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาในท้องถิ่นได้อย่างดี เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดและส่งมอบให้กับชุมชนต่างๆตามความต้องการต่อไป

Advertisment

- Advertisment -.