GPSC ตัดเชือก 5 ผลงาน Young Social Innovator ซีซั่น 3 ปลุกพลังความคิดเยาวชนสร้างสรรค์นวัตกรรมพลังงาน

774
- Advertisment-

ข่าวประชาสัมพันธ์

GPSC ตัดสิน 5 โครงงานสิ่งประดิษฐ์เยาวชนไอเดียนวัตกรรมสู่การต่อยอด บนเวที GPSC Young Social Innovator 2020 ปีที่ 3 โดยมีสถาบันการศึกษาและเยาวชนแห่เข้าร่วมส่งผลงานกว่า 300 โครงงานจากทั่วประเทศ ลุ้นชิงชนะเลิศโค้งสุดท้ายต้นปี 64 ดันเป็นโครงงานต้นแบบด้านการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานจริงในชุมชน

นายณรงค์ชัย วิสูตรชัย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสรัฐกิจสัมพันธ์และกิจการสาธารณะ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า GPSC ได้จัดกิจกรรมแข่งขันและประกาศผลการคัดเลือกโครงการ GPSC Young Social Innovator 2020 ปีที่ 3 โดยในปีนี้ได้รับความสนใจจากสถาบันการศึกษาและเยาวชนส่งผลงานโครงงานสิ่งประดิษฐ์ ภายใต้แนวคิด “พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (Sustainable Energy, Natural resource and Environment)” จำนวนกว่า  300 ผลงาน จากทั่วประเทศ โดยมีผลงานที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จำนวน 30 ทีม และเข้าสู่การคัดเลือกในรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 5 ทีมสุดท้าย ซึ่งจะได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัทฯ เพื่อนำไปต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้ และใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เป็นโครงการต้นแบบด้านการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น การพัฒนาพลังงานที่มีประสิทธิภาพ พร้อมใช้งานจริงในชุมชน อาทิ การสร้างนวัตกรรมจากการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น จนนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

นายณรงค์ชัย วิสูตรชัย ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสรัฐกิจสัมพันธ์และกิจการสาธารณะ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC

สำหรับผลงานที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จำนวน 5 ผลงาน ประกอบด้วย

- Advertisment -
  1. ทีม YOUNG SCIENCE SR 2 โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ จังหวัดนครพนม ชื่อผลงาน เสปรย์กำจัดกลิ่นเท้า “เท้าหอม” (Foot odor spray “ThaoHom”)
  2. ทีม YOUNG SCIENCE SR โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ จังหวัดนครพนม ชื่อผลงาน กรดจากน้ำปลาส้มผสมซิงค์ออกไซด์ ลดกลิ่น ต้านเชื้อรา เพิ่มน้ำหนักยางพารา
  3. ทีม young’s box โรงเรียน คีรีมาศพิทยาคม จังหวัดสุโขทัย ชื่อผลงาน กล่องยืดอายุผลไม้
  4. ทีม SPT magic project โรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง ชื่อผลงาน นวัตกรรมกันกระแทกและชะลอการสุกจากเส้นใยกาบกล้วย
  5. ทีม KKW NANO – Z โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น ชื่อผลงาน นวัตกรรมการจัดการคราบน้ำมันเหลือทิ้งจากภาคครัวเรือนโดยใช้ฟองน้ำยางพาราผสมธูปฤาษี และสารนาโนคาร์บอนแบล็คเพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นถ่านเชื้อเพลิงจากเปลือกทุเรียนผสมธูปฤาษีและสารนาโนคาร์บอนแบล็ค
ทีม YOUNG SCIENCE SR 2 โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ จังหวัดนครพนม
ทีม YOUNG SCIENCE SR โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ จังหวัดนครพนม
ทีม young’s box โรงเรียน คีรีมาศพิทยาคม จังหวัดสุโขทัย
ทีม SPT magic project โรงเรียนสตรีพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ทีม KKW NANO – Z โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จังหวัดขอนแก่น

โดยทั้ง 5 ทีม ได้กำหนดจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศโครงการ YSI ซีซั่น 3 ในช่วงต้นปี 2564 ซึ่งทีมชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา จำนวน 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รองชนะเลิศอันดับสอง และรางวัลชมเชย 2 รางวัล จะได้รับโล่รางวัล ประกาศนียบัตรและทุนการศึกษาจำนวน 30,000 บาท 20,000 บาท และ 10,000 บาท ตามลำดับ

นอกจากนี้ GPSC ยังได้มอบทุนสนับสนุนผลงานให้กับทีมที่มีความโดดเด่นด้านกิจการเพื่อสังคมอีก 4 รางวัล เพื่อนำไปใช้ต่อยอดเป็นนวัตกรรมสู่สังคมและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนรวมมูลค่า 32,000 บาท โดยผลงานที่ได้รับการคัดเลือกประกอบด้วย

  1. ทีม Saint Fin-nich โรงเรียนเซนต์นิโกลาส จังหวัดพิษณุโลก ชื่อผลงาน นวัตกรรมเครื่องวัดระดับความสุกและความหวานของผลไม้
  2. ทีม WARISA TEAM โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา พุทธมณฑล กรุงเทพมหานคร ชื่อผลงาน แผ่นทำความสะอาดจากใบข้าวโพดและเสริมประสิทธิภาพด้วยสารสกัดจากใบพลูและใบฝรั่ง
  3. ทีม Life’s a wave โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ชื่อผลงาน กระเป๋าโทรศัพท์ดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากยางธรรมชาติผสมคาร์บอนไฟเบอร์เคลือบนิกเกิล
  4. ทีม เสือสมิง โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี จังหวัดลพบุรี ชื่อผลงาน อุปกรณ์ให้ความร้อนสำหรับการขึ้นลายด้ามไม้กวาด

“การจัดการแข่งขันโครงงานของเยาวชนภายใต้โครงการ GPSC YSI ถือเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อการวางรากฐานของเยาวชนทั้งในด้านการพัฒนาองค์ความรู้จากการใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรู้คุณค่าของการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่ง GPSC ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับพันธกิจด้านการพัฒนาการศึกษาของเยาวชนในมิติต่างๆ เพื่อให้เยาวชนสามารถพัฒนาตนเอง ไปสู่การเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพในอนาคตและร่วมเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศสู่การเติบโตอย่างเข้มแข็ง นับเป็นแนวทางที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว” นายณรงค์ชัย กล่าว

โครงการดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางและนโยบายของบริษัทฯ ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR) ในการส่งเสริมและสนับสนุนเด็กและเยาวชนของไทยให้เกิดการเรียนรู้ในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

Advertisment