กฟผ.ประกาศ 6 รายชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่ง “ผู้ว่าการ กฟผ.” คนใหม่

1978
- Advertisment-

ประธานกรรมการสรรหาตำแหน่ง “ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)” ประกาศรายชื่อผู้สมัคร 6 คน ซึ่งมาจากตำแหน่งรองผู้ว่าการ กฟผ. สายงานต่างๆ ระบุหลังจากนี้เตรียมพิจารณาคุณสมบัติอย่างละเอียด และเปิดแสดงวิสัยทัศน์ ก่อนสรุปผลเสนอคณะกรรมการ กฟผ. พิจารณาต่อไป  

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center -ENC ) รายงานความคืบหน้าการเปิดรับสมัคร “ตำแหน่งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย” หลังจากที่ กฟผ. ได้เปิดรับสมัครตำแหน่งผู้ว่าการ กฟผ. ตั้งแต่ 10 เม.ย.-13 พ.ค. 2568 ที่ผ่านมาว่าล่าสุด นายวรากร พรหโมบล ประธานกรรมการสรรหาผู้ว่าการ กฟผ. แทน นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการ กฟผ. คนปัจจุบัน ที่จะครบวาระในวันที่ 30 ก.ค. 2568 ได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่า กฟผ. ที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น 6 คน ได้แก่

1.นายทิเดช เอี่ยมสาย รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน

- Advertisment -

2.นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์  รองผู้ว่าการประจำสำนักผู้ว่าการ ปฏิบัติงานที่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่

3.นายวิภู พิวัฒน์  รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า

4.นายธวัชชัย สำราญวานิช  รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์

5.นายธีรวุฒิ เวทะธรรม รองผู้ว่าการพัฒนาระบบส่ง

6.นายนรินทร์ เผ่าวณิช รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง

สำหรับขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการสรรหาฯ จะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครโดยละเอียด และเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาคัดเลือก โดยให้ผู้สมัครเข้ารับการสัมภาษณ์และแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาฯ ก่อนสรุปผลการคัดเลือก และเสนอรายชื่อผู้ที่เหมาะสมต่อคณะกรรมการ กฟผ. เพื่อพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

สำหรับโจทย์ท้าทายผู้ว่า กฟผ. คนใหม่ มีเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ การส่งสัญญาณให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รับทราบหนี้คงค้างค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ที่จะกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของ กฟผ. ,การเสนอรัฐบาลถึงการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาวของไทย (PDP) ฉบับใหม่ ที่ควรต้องเน้นโรงไฟฟ้าหลักเพื่อความมั่นคงด้านไฟฟ้าของประเทศหากมีการเพิ่มสัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (RE) เข้ามาเพิ่มมากขึ้น โดยโรงไฟฟ้าหลัก ได้แก่ โรงไฟฟ้าสุราษฏร์ธานี, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR), การแยกศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า (SO) และการแยกบัญชีให้ชัดเจน เป็นต้น

Advertisment