ศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากวินิจฉัยกระทรวงพลังงานให้เอกชนมีส่วนร่วมผลิตไฟฟ้าตามแผนพีดีพี ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ​มาตรา 56 วรรคสอง

2525
- Advertisment-

ศาลรัฐธรรมนูญ​มีมติโดยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 วินิจฉัยว่า การที่กระทรวงพลังงานให้เอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 56 วรรค สอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง และมีมติโดยเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 วินิจฉัยว่ากระทรวงพลังงานปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 56 วรรค สาม และ สี่ ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง พร้อมแนะให้ กพช.และ กกพ.กำหนดกรอบหรือสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของเอกชนให้ชัดเจน รวมทั้งปริมาณสำรองที่สูงจนกระทบค่าไฟฟ้า โดยผลจากการวินิจฉัยของศาล ทำให้กระทรวงพลังงานสามารถเดินหน้าแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือ แผนPDP ต่อไปได้ แม้ว่าสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าในส่วนของ กฟผ. ในช่วงปลายแผนจะอยู่ที่ระดับ 30 % ของกำลังผลิตรวมทั้งหมด

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าว​พลังงาน ( Energy News ​Center-ENC ​)​ รายงานว่า หลังจากที่ ศาลรัฐธรรมนูญ​มีมติเอกฉันท์รับคำร้องคดีเพื่อวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 51 เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2565 ว่า กระทรวงพลังงานกำหนดยุทธศาสตร์​กระทรวงพลังงาน ปี 2559-2563 และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561-2580 ทำให้สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของรัฐลดลงต่ำกว่าร้อยละ 51 เป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ​มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง หรือไม่ โดยให้ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาล ภายใน 15 วันนับตั้งแต่ได้รับสำเนาคำร้อง
โดยคดีดังกล่าวมีนายสุทธิพร ปทุมเทวาภิบาล เป็นผู้ร้อง นั้น ในวันที่ 9 มกราคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมปรึกษาคดีดังกล่าว และมีผลการพิจารณาออกมา


โดยมีการเผยแพร่ผ่านทาง Youtube ตามลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=q3g_2e08g-8

- Advertisment -

ทั้งนี้สาระสำคัญ​ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ​2560 มาตรา ที่ 56 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ​จะพิจารณาตามที่มีผู้ร้อง นั้น ระบุว่า รัฐต้องจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อ
การดํารงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ รัฐจะกระทําด้วยประการใดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนหรือทําให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดมิได้

การจัดหรือดําเนินการให้มีสาธารณูปโภคตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง รัฐต้องดูแลมิให้มีการเรียกเก็บค่าบริการจนเป็นภาระแก่ประชาชนเกินสมควร
การนําสาธารณูปโภคของรัฐไปให้เอกชนดําเนินการทางธุรกิจไม่ว่าด้วยประการใดๆ รัฐต้องได้รับ
ประโยชน์ตอบแทนอย่างเป็นธรรม โดยคํานึงถึงการลงทุนของรัฐ ประโยชน์ที่รัฐและเอกชนจะได้รับและค่าบริการที่จะเรียกเก็บจากประชาชนประกอบกัน

โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญ​มีมติโดยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 วินิจฉัยว่า การที่กระทรวงพลังงาน ในฐานะผู้ถูกร้อง ได้ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 56 วรรค สอง ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง และมีมติโดยเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 วินิจฉัยว่ากระทรวงพลังงานปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 56 วรรค สาม และ สี่ ประกอบมาตรา 3 วรรคสอง

โดยศาลยังมีมติเป็นเอกฉันท์​ให้มีข้อแนะนำว่า รัฐโดยคณะกรรมการ​นโยบายพลังงานแห่งชาติและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องดำเนินการกำหนดกรอบหรือเพดานสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของเอกชนในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ และกำหนดปริมาณไฟฟ้าสำรองอันเกี่ยวกับสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของเอกชนอันส่งผลต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนให้สอดคล้องและใกล้เคียงกับความเป็นจริงตามความต้องการ​ใช้ไฟฟ้าของประเทศ​ในแต่ละช่วงเวลา หากกำหนดกำลังไฟฟ้าสำรองสูงเกินสมควรและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์​สาธารณะอาจถูกดำเนินการโดยองค์กรอื่นหรือศาลอื่นได้

ทั้งนี้ การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้เกิดความชัดเจนต่อการลงทุนของ กฟผ. ในอนาคต ในฐานะที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีบทบาทในการดูแลกิจการผลิตไฟฟ้าและระบบสายส่งไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงด้านไฟฟ้าของประเทศ​ซึ่งถือเป็นกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจําเป็นต่อการดํารงชีวิตของประชาชนตามมาตรา 56

ในขณะที่กระทรวงพลังงานยังสามารถเดินหน้ายุทธศาสตร์​กระทรวงพลังงาน ปี 2559-2563 และแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561-2580 ต่อไปได้ตามแผน

Advertisment