บอร์ดองค์การเภสัชกรรม อนุมัติหลักการให้ ปตท.ช่วยตั้งโรงงานผลิตยารักษามะเร็งแล้ว

1508
- Advertisment-

บอร์ดองค์การเภสัชกรรม อนุมัติในหลักการให้ตั้งโรงงานผลิตยารักษามะเร็ง ร่วมกับปตท.แล้ว คาดศึกษาเทคโนโลยี และออกแบบโรงงาน รวมทั้งสรุปเงินลงทุนที่ชัดเจนได้ใน 1-2 ปีนี้

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม ได้อนุมัติในหลักการให้องค์การเภสัชกรรมร่วมมือกับปตท.ในการตั้งโรงงานผลิตยารักษามะเร็งแล้ว โดยหลังจากนี้จะศึกษาเทคโนโลยี และออกแบบโรงงาน รวมทั้งสรุปเงินลงทุนที่ชัดเจนคาดว่าจะได้ข้อสรุปใน 1-2 ปีนี้

การที่องค์การเภสัชกรรมร่วมมือกับปตท.เพื่อตั้งโรงงานผลิตยารักษามะเร็งในไทย จะทำให้ร่นระยะเวลาการก่อสร้างให้เสร็จเร็วขึ้นภายใน 3-4 ปี เมื่อเทียบกับการที่องค์การเภสัชกรรมจะดำเนินการเพียงลำพังที่อาจต้องใช้เวลานานถึง10 ปี เนื่องจากปตท.มีความชำนาญในการก่อสร้างโรงงานและการบริหารจัดการโรงงาน

- Advertisment -

ส่วนการจะให้ปตท.เข้าร่วมถือหุ้นในโครงการด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์การเภสัชกรรมจะพิจารณา แต่เบื้องต้นปตท.จะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงงานดังกล่าวแล้วให้องค์การเภสัชเช่าใช้ในการผลิตยารักษามะเร็ง เพื่อหวังให้คนไทยสามารถเข้าถึงยารักษามะเร็งได้ในราคาถูกกว่ายารักษามะเร็งที่นำเข้าถึง50%

ทั้งนี้ปตท.มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับองค์การเภสัชกรรม(อภ.) มาตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2018 ภายใต้“โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตวัตถุดิบสารออกฤทธิ์ทางยา (Active Pharmaceutical Ingredient, API)”

ครอบคลุมตัวยาหลัก 3 กลุ่ม ดังนี้ 1. ยาเคมีบำบัดชนิดเม็ดและฉีด(Chemotherapy) ที่เป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคมะเร็งที่สามารถออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย 2. ยาเคมีชนิดเม็ดและยาฉีดชีววัตถุคล้ายคลึงประเภท Monoclonal antibodies (Biosimilar) เพื่อให้มียาครอบคลุมการรักษาทุกกลุ่มโรคมะเร็งในปัจจุบัน 3. ยารักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy )

Advertisment