ครม.เห็นชอบ ร่างสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C – 19 และแปลง B – 17 – 01 พื้นที่ JDA ที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3

1153
- Advertisment-

คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2563 มีมติเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C – 19 และแปลง B – 17 – 01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย หรือ JDA ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท PTTEP International Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซ กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เปโตรนาส ในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ และเห็นชอบให้องค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C -19 และแปลง B – 17 – 01 ฉบับดังกล่าวกับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว โดยในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม จะเพิ่มปริมาณรับซื้อก๊าซตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2564 -1 ม.ค.2569 จาก 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็น 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน ( Energy News Center-ENC ) รายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 15 ก.ย. 2563 มีมติเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C – 19 และแปลง B – 17 – 01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท PTTEP International Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซ กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เปโตรนาส ในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ และเห็นชอบให้องค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C -19 และแปลง B – 17 – 01 ฉบับดังกล่าวกับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ

โดยในสาระสำคัญของเรื่องคือ กระทรวงพลังงานขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B -17 & C – 19 และแปลง B – 17 – 01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท PTTEP International Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซ กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เปโตรนาส ในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ โดยมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายก๊าซธรรมชาติไปจากสัญญาเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 กันยายน 2552) เห็นชอบไว้ โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2564 -1 ม.ค.2569 ซื้อเพิ่มจากมติครม.เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2552 จาก 250 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็น 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 1ม.ค.2569 ถึง 1 ม.ค.2570 ลดปริมาณลงเหลือ 255 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และตั้งแต่ 1ม.ค.2570 ถึง 1 ม.ค.2571 ลดปริมาณลงเหลือ 210 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และ 1ม.ค.2571ถึง 1 ม.ค.2572 ลดปริมาณลงเหลือ 165 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

- Advertisment -

ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบร่างสัญญาเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่างองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย กับคู่สัญญามาแล้วหลายครั้ง เช่น กรณีการเปลี่ยนแปลงปริมาณซื้อขายก๊าซธรรมชาติของแปลง A -18 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555 และ 22 ตุลาคม 2556 เป็นต้น

ในคราวประชุมคณะกรรมการองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย ครั้งที่ 129 เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B – 17 & C – 19 และแปลง  B – 17 – 01 ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่าการทำร่างสัญญาเพื่อเพิ่มปริมาณการซื้อขายก๊าซธรรมชาติหลังจากมีการสำรวจและค้นพบก๊าซธรรมชาติที่คาดว่าจะสามารถซื้อขายได้เพิ่มเติม (Additional Volume 2) นั้น เป็นการส่งเสริมการลงทุนในการพัฒนาแหล่งพลังงานในพื้นที่พัฒนาร่วม เนื่องจากผู้ขายก๊าซ ซึ่งเป็นผู้ลงทุนจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ขายได้มากขึ้น จึงให้นำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศต่อไป และกระทรวงพลังงานได้ส่งร่างสัญญาดังกล่าวให้ อส. ตรวจพิจารณาควบคู่กันไปด้วยแล้ว

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีมติเห็นชอบในร่างสัญญาแบ่งปันผลผลิตเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) แปลง B -17 & C -19 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย ระหว่างองค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย กับบริษัทผู้ได้รับสัญญา คือ บริษัท PC JDA Limited (PC JDAL) และบริษัท PTTEP International Limited และเห็นชอบให้องค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย ลงนามในร่างสัญญาแบ่งปันผลผลิตเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) แปลง B – 17 & C – 19 กับบริษัทผู้ได้รับสัญญา เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
โดยสาระสำคัญของเรื่องคือ กระทรวงพลังงานขอให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างสัญญาแบ่งปันผลผลิตเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) แปลง B -17 & C – 19 เพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราการหักค่าใช้จ่ายตามสัญญาแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม (น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ) ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย – มาเลเซีย จากเดิมกำหนดให้ผู้รับสัญญาสามารถหักค่าใช้จ่ายในส่วนที่เป็นต้นทุนการประกอบกิจการได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดเป็นไม่เกินร้อยละ 60 ของผลผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด เนื่องจากบริษัทผู้ได้รับสัญญาได้ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมระยะที่ 5 ของแปลง B -17 & C -19 ตามมติที่ประชุมองค์กรร่วมไทย – มาเลเซียทำให้ต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น  บริษัทผู้ได้รับสัญญาจึงขอเปลี่ยนแปลงอัตราการหักค่าใช้จ่ายเพื่อให้สามารถหักค่าใช้จ่ายในการลงทุนทั้งหมดได้ครบเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการแบ่งปันผลผลิตที่จะสิ้นสุด ณ วันที่ 23 ตุลาคม 2572

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้รายได้ของภาครัฐและองค์กรร่วมไทย – มาเลเซียลดลง เนื่องจากภาครัฐจะได้รับภาษีในอัตราร้อยละ 10 คงเดิม และในส่วนขององค์กรร่วมฯ แม้จะได้รับส่วนแบ่งของผลกำไรจากผลผลิตปิโตรเลียมที่ลดลง แต่เมื่อคำนวณจากผลผลิตทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมแล้วจะทำให้องค์กรร่วมไทย – มาเลเซีย ได้รับผลกำไรเพิ่มขึ้นจากเดิม

 

Advertisment