กกพ.เตรียมแยกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปของแต่ละอาคารออกจากกัน พร้อมเปิดรับฟังความเห็นประชาชนถึง 2 ก.ค. 2566 นี้

2021
- Advertisment-

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมแยกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าโซลาร์รูฟท็อปของแต่ละอาคารออกจากกัน แม้กลุ่มอาคารจะเป็นของนิติบุคคลเดียวกันก็ตาม โดยพิจารณาจากอาคารที่แยกมิเตอร์ไฟฟ้าออกจากกัน และอาคารที่แยกมิเตอร์ไฟฟ้าแต่มีการเชื่อมโยงไฟฟ้าระหว่างอาคารเพื่อใช้ในกรณีซ่อมบำรุงหรือกรณีฉุกเฉิน ทั้งนี้หากแยกมิเตอร์แล้วพบว่าโครงการใดผลิตไฟฟ้าต่ำกว่า 1,000 กิโลวัตต์ จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าด้วย  โดย กกพ. จะเปิดรับฟังความเห็นประชาชนต่อการแยกใบอนุญาตดังกล่าวระหว่าง 16 มิ.ย.-2 ก.ค. 2566 นี้  

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center-ENC) รายงานว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้เปิดรับฟังความเห็นประชาชนเกี่ยวกับ “หลักเกณฑ์การแยกใบอนุญาตสำหรับกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันของนิติบุคคลเดียวกัน” ระหว่างวันที่ 16 มิ.ย.- 2 ก.ค. 2566 นี้

โดยสาระสำคัญของหลักเกณฑ์ดังกล่าวระบุว่า จากเดิมโครงการผลิตไฟฟ้าจาก Solar Rooftop ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันและดำเนินงานภายใต้นิติบุคคลเดียวกัน แม้จะมีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารหลายหลัง แต่หากรวมขนาดกำลังการผลิตติดตั้งของเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป ทาง กกพ.จะออกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้ารวมเป็นโครงการเดียวกันเป็นหลัก

- Advertisment -

แต่ที่ประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบให้กิจการผลิตไฟฟ้า โครงการ Solar Rooftop ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันของนิติบุคคลเดียวกัน ที่แต่ละอาคารหรือกลุ่มอาคารมีการติดตั้งมิเตอร์แยกอิสระต่อกัน เพื่อแยกการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้าแต่ละอาคารหรือกลุ่มอาคารเป็นอิสระต่อกันนั้น  ให้ดำเนินการแยกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าออกจากกันด้วย

โดยกลุ่มอาคารของนิติบุคคลเดียวกันที่มีการแยกมิเตอร์ไฟฟ้าของแต่ละอาคารให้เป็นอิสระต่อกัน ที่ต้องดำเนินการแยกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ 1.แต่ละอาคารหรือกลุ่มอาคารที่มีการติดตั้งมิเตอร์แยกกัน ไม่มีการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าหรือขนาดระบบผลิตไฟฟ้าเข้าด้วยกัน จะต้องแยกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า (ตามตัวอย่างรูปภาพที่ 1 )

รูปแบบที่ 2 แต่ละอาคารหรือกลุ่มอาคารที่มีการติดตั้งมิเตอร์แยกกัน แต่มีการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าหรือขนาดระบบผลิตไฟฟ้าเข้าด้วยกัน โดยในสถานการณ์ปกติ (Normal Operation) จะปิดวงจรไว้หรือมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลเชื่อมกันได้ เช่น อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน (Zero Export Controller)  หรือ (Reverse Power Relay) แต่จะปล่อยให้ไฟฟ้าไหลเชื่อมกันได้ในกรณีซ่อมบำรุงหรือสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น (ตามตัวอย่างรูปภาพที่ 2 ) ก็ต้องแยกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าเช่นกัน

อย่างไรก็ตามหากแยกแต่ละมิเตอร์ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว โครงการใดมีขนาดกำลังผลิตติดตั้งของ Inverter ต่ำกว่า 1,000 กิโลกวัตต์ จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า ตาม พ.ร.ก. กำหนดประเภทขนาด กิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2552

Advertisment