Interview: เปิดมุมมองผู้ว่าการ กฟผ. “บุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” รุกธุรกิจ EV

1080
- Advertisment-

ประเทศไทยกำลังพุ่งเป้าหมายไปสู่การใช้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV)  ให้ได้ 1.2 ล้านคัน ในปี 2579 เพื่อเป็นส่วนสำคัญหนึ่งในการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศและปัญหาภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนผ่านพลังงานสู่พลังงาน สะอาดตามทิศทางของโลก เราจึงได้เห็นค่ายรถยนต์ต่างๆ และผู้ประกอบการด้านพลังงานหลายราย โดดเข้าร่วมวงธุรกิจ EV อย่าง คึกคัก ที่ขาดไม่ได้ คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้าหลักของประเทศ ที่ประกาศปักธงธุรกิจ EV และเดินหน้าวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับธุรกิจ EV รวมถึงปรับทิศทางธุรกิจของ กฟผ. ให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทิศทางพลังงานและเทคโนโลยีของโลก โดย ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center – ENC มีโอกาสได้รับฟัง “นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร” ผู้ว่าการ กฟผ.  เปิดมุมองการทำธุรกิจ EV ที่น่าสนใจ ดังนี้

อนาคต รถ EV มาแน่ ลดใช้น้ำมัน รักษ์สิ่งแวดล้อม

ผู้ว่าฯ กฟผ. บอกว่า ขณะนี้ ผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้ากำลังช่วยกันโปรโมทการใช้รถ EV ในประเทศอย่างจริงจัง เพื่อตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อมและลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการเติบโตธุรกิจ EV นี้จะมีผลต่อระบบส่งไฟฟ้าในอนาคต ดังนั้น กฟผ. ในฐานะที่เป็นผู้มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการทำระบบไฟฟ้ามาตลอด 52 ปี เชื่อมั่นว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจ EV ได้อย่างดี มี ประสิทธภาพ สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลและสอดรับกับเทรนด์ของโลก จึงได้ประกาศตัวพร้อม สนับสนุนการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้มีความมั่นคง โดยเดินหน้าเปิดธุรกิจใหม่ “EGAT EV Business Solutions” ได้แก่ สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) ตู้อัดประจุไฟฟ้า (EV Charger) แอปพลิเคชัน (Mobile Application) และระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า ธุรกิจ EV โดยเฉพาะ (Network Operator Platform) เพื่อรองรับเทคโนโลยีและธุรกิจ EV โดยเฉพาะ

“เรามองว่ายานยนต์ไฟฟ้า (EV)  ในอนาคตจะมีการใช้งานในประเทศไทยเยอะมาก เพราะราคารถ EV มีแนวโน้มปรับลดลง โดยเฉพาะรถ EV จากประเทศจีน ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดแล้ว แต่ประเด็นสำคัญคือจะทำอย่างไรให้สถานีชาร์จไฟฟ้ารถ EV มีครอบคลุมทุกการเดินทาง เพราะถ้าซื้อรถมาใช้วิ่งเฉพาะในเมืองอาจจะยังไม่ค่อยคุ้มค่า และยังไม่ตอบโจทย์กับคนส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าที่กระทรวงพลังงานวางแผนไว้ ก็น่าจะมีรถ EV ประมาณ 7 แสนถึง 1 ล้านคัน ถ้าถึงเวลานั้นก็จะได้เห็นการใช้งาน EV แพร่หลายมากขึ้นบนท้องถนน”

- Advertisment -

ตั้งเป้าเพิ่มสถานีชาร์จให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้รถ EV

นายบุญญนิตย์ มองว่าสถานีชารจ์ไฟฟ้าทั้งประเทศ ยังมีน้อยอยู่ เนื่องจากในช่วงเริ่มต้นเช่นนี้ปริมาณรถ EV ยังมีน้อย การขยาย จำนวนสถานีชาร์จจึงยังต้องระมัดระวังพอสมควร อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการหลายๆ ราย ก็ช่วยกันติดตั้งให้มากขึ้นอยู่ โดย ในส่วนของ กฟผ. ปัจจุบัน มีสถานีชาร์จไฟฟ้าที่อยู่บริเวณเขื่อนผลิตไฟฟ้า และสถานีไฟฟ้าต่างๆ 9 แห่ง และได้จับมือกับพันธมิตร คือ บมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี่ หรือ PTG เพื่อให้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมัน PT เพื่ออำนวยความสะดวกให้ ผู้ใช้รถ EV ให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยปัจจุบันมีสถานีชาร์จไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมัน PT จำนวน 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น ปัจจุบัน กฟผ . มีสถานีชาร์จรวม 14 แห่ง และในปี 2564 นี้ กฟผ. มีเป้าหมายจะทำสถานีชาร์จอีก 34 แห่ง ซึ่งจะทำให้ กฟผ. มีสถานีชาร์จทั้งหมด ในปี 2564 จำนวน 48 แห่ง และ กฟผ. ตั้งใจว่าการทำสถานีชาร์จไฟฟ้ารถ EV จะมุ่งเน้นเพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชน มากกว่าผลกำไร

“สำหรับการติดตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าในปั๊มน้ำมันนั้น กฟผ. เลือกทำกับปั๊ม PT ในช่วง 3 ปีแรกนี้ เพราะ PT มีสาขาปั๊มน้ำมันมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศกว่า 2,100 สาขา ซึ่งจะทำให้ กฟผ. สามารถขยายจำนวนสถานีชาร์จไฟฟ้าได้ครอบคลุมการเดินทางของผู้ใช้ EV มากขึ้น”

“ส่วนการติดตั้งสถานีชาร์จในพื้นที่อื่นๆ อยู่ระหว่างดำเนินการในพื้นที่พันธมิตร เช่น ที่สนามกอล์ฟ โรงพยาบาล โรงแรมและห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ที่ประชาชนมีกิจกรรมเพื่อรอการชาร์จไฟฟ้าได้ โดยการดำเนินงานดังกล่าวเพื่อเป็นการเริ่มต้นให้บริการกับสังคม และเป็นการทำโครงสร้างพื้นฐานระบบรองรับรถ EV ในประเทศให้มีทั่วถึงก่อน โดย กฟผ. เปิดรับพันธมิตร ทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อน EV ด้วยกัน”

เตรียมตั้งบริษัทใหม่ขับเคลื่อนธุรกิจ EV

ผู้ว่าฯ บุญญนิตย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ กฟผ. กำลังอยู่ในขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อมาดำเนินธุรกิจภายใต้ EGAT EV Business Solutions ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์และบริการ ไม่ว่าจะเป็น 1. สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT”  2. Mobiile Application Platform “EleXA” 3. ตู้อัดประจุไฟฟ้า “EGAT Wallbox และ EGAT DC Quick Charger” และ 4. ระบบบริหารจัดการ เครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า “BackEN หรือ Backend EGAT Network Operator Platform (อ่านรายละเอียดท้ายบทความ)

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ.

“สำหรับสถานีชาร์จไฟฟ้ารถ EV นั้น กฟผ. ติดตั้งทั้งระบบ DC Fast Charge ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ถึง 120 กิโลวัตต์ ซึ่งถ้า เทียบกับสถานีชาร์จในท้องตลาด ก็ถือว่าเรามีกำลังไฟฟ้าที่สูง ใช้เวลาชาร์จประมาณ 30-45 นาที และการชาร์จแบบ AC Normal Charge ที่สามารถชาร์จและรองรับรถ EV ได้ทุกค่าย จ่ายไฟฟ้าได้ 22  กิโลวัตต์ ใช้เวลาชาร์จประมาณ 2-3 ชั่วโมง (กรณีรถ EV มีไฟฟ้าเหลือน้อย และต้องการชาร์จเต็ม 100%)”

และเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้รถ EV กฟผ. มีแอปพลิเคชันที่สามารถดาวน์โหลดได้ในชื่อ  EleXA ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ช่วย ค้นหาสถานีชาร์จทุกรายที่ให้บริการ และสามารถจองคิวชาร์จที่สถานีชาร์จ EleX by EGAT ได้ และสามารถจ่ายค่าชาร์จไฟฟ้าได้ ทั้งระบบ Moblie Banking, QR Code และบัตรเครดิต ซึ่งใช้ได้ทั้งระบบ Android และ iOS

EV นับเป็นธุรกิจใหม่ของ กฟผ. ที่ต่อยอดจากธุรกิจผลิตไฟฟ้าเดิมของ กฟผ. ได้อย่างลงตัว เพราะนอกจากจะเป็นนโยบายที่ รัฐบาลให้การส่งเสริมแล้วยังช่วยลดปัญหาด้านมลภาวะสิ่งแวดล้อมลงได้ด้วย แม้ปัจจุบันจะมีผู้ใช้รถ EV ประมาณ 2,000 คัน แต่จากการคาดการณ์ของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ระบุว่าในปี ค.ศ. 2025 หรือในอีก 4 ปีข้างหน้า ราคารถ EV จะเริ่มขยับมา เท่ากับรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ซึ่งเวลานั้นการใช้รถ EV จะพุ่งขึ้นสูงสุด ดังนั้น การเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานรองรับ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยียานยนต์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และถือเป็นหนึ่งบทบาทที่สำคัญของ กฟผ. ทั้งในแง่การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้า และการวางโครงสร้างพื้นฐานรองรับรถ EV ของประเทศไทย


 

4 ผลิตภัณฑ์และบริการ ภายใต้ธุรกิจ “EGAT EV Business Solutions” ประกอบด้วย

สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT” ที่ชาร์จไฟได้รวดเร็ว ปลอดภัย มั่นใจ เพื่อรองรับทุกการเดินทางของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ โดยปัจจุบัน กฟผ. ได้ติดตั้งไปแล้ว 14 สถานี และตั้งเป้าหมายที่จะติดตั้งเพิ่มเป็น 48 สถานี ภายในสิ้นปี 2564 โดยเน้นขยายสถานีไปตามเส้นทางการเดินทางหลักทั่วประเทศ

Mobile Application Platform “EleXA” ที่เสมือนเป็นผู้ช่วย เพิ่มความสะดวกสบายในทุกขั้นตอนให้แก่ผู้ใช้รถ EV ตั้งแต่การค้นหา จอง ชาร์จ และจ่ายเงิน ซึ่งจะทำให้กลายเป็นเรื่องที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับผู้ใช้งานทุกคน โดย กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ให้สามารถเชื่อมโยง ทั้งลูกค้า ร้านค้า ผประกอบการ และผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้สถานี ของ กฟผ. เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่กลุ่มเครือข่าย

ู้อัดประจุไฟฟ้า “EGAT Wallbox และ EGAT DC Quick Charger” เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกแก่ผู้ใช้งานรถ EV โดย EGAT Wallbox เป็น Home Charger ที่เล็กกะทัดรัด สวยงาม โดย กฟผ. ได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายเพียงรายเดียว ในประเทศไทย รวมทั้งในการเป็นผู้ดูแลให้บริการติดตั้งและบำรุงรักษาให้แก่ลูกค้าโดยตรง และในปัจจุบัน กฟผ. ได้พัฒนาตู้อัด ประจุไฟฟ้า EGAT DC Quick Charger ขนาด 120 kW ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ โดย กฟผ. จะนำผลิตภัณฑ์นี้ออกใช้งานในเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นปีนี้

ระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า “BackEN หรือ Backend EGAT Network Operator Platform” ที่จะเชื่อมโยงระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งระบบผลิตและส่งไฟฟ้า สถานีอัดประจุไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้า และผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการในภาพรวมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีเสถียรภาพ และมั่นคง ด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้มาตรฐานและระบบวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ พร้อมให้บริการตลอด 24 ชม.

Advertisment