Dow ร่วมกรมทะเล เดินหน้าอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน คาด 5 ปี เพิ่ม 3 แสนไร่

258
- Advertisment-

ข่าวประชาสัมพันธ์

Dow จับมือร่วมกับกรมทะเล เดินหน้าอนุรักษ์ฟื้นฟู ร่วมทุกภาคส่วน วราวุธ ย้ำความสำเร็จ “วันป่าชายเลนแห่งชาติ” คาด 5 ปี ป่าชายเลนเพิ่ม 3 แสนไร่

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดงานวันป่าชายเลนแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและประธานสมาคมป่าชายเลนนานาชาติ เป็นประธานในพิธี พร้อมกันนี้ นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายนิเวศน์ หาญสมุทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นางสาวบุษบรรณ จีนเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) และนางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ตลอดจนคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงฯ เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล และชุมชนชายฝั่ง เข้าร่วมกิจกรรม ณ สวนพฤกษศาสตร์ป่าชายเลนนานาชาติ ร.9 บ้านเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ได้มอบโล่เกียรติคุณแก่เครือข่ายชุมชนดีเด่นด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลน 10 ชุมชน พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำและกิจกรรมปลูกป่าชายเลน

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่ารัฐบาลและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนสมบูรณ์เป็น 3 แสนไร่ ภายใน 5 – 10 ปี ซึ่งคาดว่าไม่ยากเกินไป เนื่องจาก กระแสสังคมต่างให้ความสำคัญกับผืนป่าชายเลน พี่น้องประชาชนแสดงเจตนารมณ์ที่จะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟู และดูแลทรัพยากรป่าชายเลนอย่างจริงจังในทุกจังหวัดชายฝั่งทะเล ทั้งนี้ “วันป่าชายเลนแห่งชาติ” เป็นวันที่ทุกคนต่างร่วมแสดงความยินดีในความสำเร็จของการมีส่วนร่วมในการรักษาป่าชายเลนในปีที่ผ่านมา และร่วมกันแสดงความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าปฏิบัติการในปีต่อไป โดยได้หารือกับนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้หาแนวทางสร้างความท้าทายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้ได้เร็วและมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดอีกด้วย

- Advertisment -

ศาสตราจารย์ ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานสมาคมป่าชายเลนนานาชาติ กล่าวภายหลังการเปิดงานและมอบโล่เกียรติคุณว่า ในเชิงวิชาการแล้วป่าชายเลนมีความสำคัญต่อระบบนิเวศสูงมาก อีกทั้งยังสร้างประโยชน์ให้กับมวลมนุษยชาติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน ตั้งแต่ในระดับนโยบายหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่างให้ความสำคัญและยกเป็นนโยบายสำคัญ รวมถึง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ถ่ายทอดนโยบายลงสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญสามารถดึงพี่น้องประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างเข้มแข็งและจริงจัง และวันนี้ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับเครือข่ายชุมชนดีเด่นด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนกว่า 10 ชุมชน ได้เห็นถึงหัวใจที่มุ่งมั่นในการอนุรักษ์ป่าชายเลน จึงเชื่อมั่นว่าเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนของประเทศไทยคงไม่ยากอย่างแน่นอน

ด้านนายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตั้งเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน 153,400 ไร่ ภายในปี 10 ปี และตั้งเป้าหมายในการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต บนเนื้อที่ อีกกว่า 3 แสนไร่ โดยในปี 2565 ได้เตรียมพื้นที่เพื่อดำเนินโครงการ ทั้งสิ้น 34,284.13 ไร่

นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังเผชิญ DOW จึงมุ่งมั่นส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชายเลนอย่างครบวงจรและมีส่วนร่วม เพราะป่าชายเลนเป็นป่าที่สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ดีที่สุดซึ่งจะช่วยลดปัญหาโลกร้อน และยังเป็นปราการที่สามารถดักกรองขยะไม่ให้ลงสู่ทะเล โดยได้ต่อยอดความสำเร็จจากโครงการปลูกป่าชายเลนที่ DOW ดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 13 ปี ในประเทศไทย โดยร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และพันธมิตรด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีแนวคิดแบบเดียวกัน ริเริ่มและดำเนินโครงการ Dow & Thailand Mangrove Alliance ซึ่งไม่ใช่การปลูกป่าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ทั้งด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การท่องเที่ยว การจัดการขยะ และผลักดันให้เกิดคาร์บอนเครดิตจากการดูแลป่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้นยังสนับสนุนให้ชุมชน เยาวชน และประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วม ความร่วมมือนี้ไม่เพียงมีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นโครงการที่ช่วยสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างครบวงจรด้วย

Advertisment