Clean Fuel Project ของไทยออยล์ มูลค่าลงทุน 4,875ล้านเหรียญฯ คืบหน้าแล้ว29%

- Advertisment-

ไทยออยล์ วางศิลาฤกษ์อาคารควบคุมกระบวนการผลิตหลัก โครงการพลังงานสะอาด (CFP) มูลค่าลงทุนประมาณ 4,825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่จะช่วยเพิ่มสัดส่วนการ กลั่นน้ำมันหนัก (Heavy Crude) ได้มากขึ้นร้อยละ 40-50  โดยสามารถเปลี่ยนน้ำมันเตาให้เป็นดีเซล และน้ำมันอากาศยานที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และได้เบนซิน ดีเซล มาตรฐานยูโร 5  ปัจจุบันโครงการคืบหน้าแล้ว 29% กำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี2566 คาดว่าจะก่อให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศโดยตรงมากกว่า 40,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 20,000 คนในช่วงก่อสร้าง

พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารควบคุมกระบวนการผลิตหลัก โครงการพลังงานสะอาด ( Clean Fuel Project: CFP )มีขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ (5 มีค.63)ซึ่งกำหนเดิมจะมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  มาเป็นประธานในพิธี  แต่ภายหลังได้เปลี่ยนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีแทน  โดยที่มีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานกรรมการ นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ คณะผู้บริหาร บมจ.ไทยออยล์ และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ณ โรงกลั่นไทยออยล์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด  (มหาชน ) เปิดเผยว่า โครงการ CFPจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 4,825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการขยายกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นจากเดิม 275,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน ที่ก่อให้เกิดการประหยัดด้านขนาด (Economies of Scale) ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง  อีกทั้งยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการรับน้ำมันดิบ ทำให้โรงกลั่นสามารถเพิ่มสัดส่วนการกลั่นน้ำมันหนัก (Heavy Crude) ได้มากขึ้นร้อยละ 40-50 เป็นการเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์โดยเปลี่ยนน้ำมันเตาให้เป็นน้ำมันอากาศยานและน้ำมันดีเซลซึ่งมีราคาสูงกว่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งตอบสนองการปรับเปลี่ยนของตลาดซึ่งอิงกับกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การลดปริมาณการใช้น้ำมันเตาในการเดินเรือในปี 2563 รวมถึงการผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซลมาตรฐานยูโร 5

- Advertisment -

โดย มีความคืบหน้าประมาณ 29% ที่การออกแบบทางวิศวกรรมเบื้องต้น งานสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรหลักที่ใช้ระยะเวลาจัดส่งนานได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบทางวิศวกรรมโดยละเอียด รวมถึง การปรับปรุงพื้นที่และงานวางฐานราก เพื่อรองรับงานติดตั้งโครงสร้าง เครื่องจักรและอุปกรณ์คาดว่าจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2566

ทั้งนี้หากเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โครงการนี้จะส่งผลให้ไทยออยล์ มี EBITDA เพิ่มขึ้นประมาณ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่ม (Gross Integrated Margin: GIM) เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

โครงการ CFP จัดเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาคเอกชนโครงการแรกภายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC  และเป็นโครงการภาคเอกชนที่มีเม็ดเงินลงทุนสูงสุดโครงการหนึ่งของประเทศ  คาดว่าจะก่อให้เกิดกระแสเงินหมุนเวียนสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศโดยตรงมากกว่า 40,000 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยวงเงินในการจ้างงานประมาณ 22,000 ล้านบาท หรือกว่า 20,000 คนในช่วงก่อสร้าง และวงเงินในการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ประมาณ 18,000 ล้านบาท

Advertisment