บี.กริม สนันสนุนโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 15  

25
- Advertisment-

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ซึ่งดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 15 ได้จัดพิธีรับตราพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย โดยมีเครือข่ายท้องถิ่น วิทยากรหลัก วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น ผู้แทนโรงเรียนในโครงการ ผู้สนับสนุนโครงการ และโรงเรียนทั่วประเทศที่ผ่านการประเมินเข้ารับตราพระราชทาน เข้าร่วมงาน โดยได้รับเกียรติจาก คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็นประธานเปิดงานประจำปีการศึกษา 2567 ระหว่างวันที่ 3-6 กรกฎาคม 2568 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า องค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จ.ปทุมธานี

โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้ต้นแบบมาจาก Stiftung Haus der kleinen Forscher (สติฟตุ้ง ออส เดอ ไคลเน่น โฟเขอร์) หรือ มูลนิธิบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศเยอรมนี โดยได้รับความร่วมมือจาก 8 ภาคีของโครงการ ได้แก่ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ บี.กริม และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งได้รับการตอบรับจากเครือข่ายและโรงเรียนในโครงการทั่วประเทศอย่างดีตลอดเวลาที่ผ่านมา

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ กล่าวว่า ผู้บริหาร และคุณครูทุกท่าน จากโรงเรียนทั่วประเทศที่ผ่านการประเมินเข้ารับตราพระราชทาน จากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ได้นำแนวทางของโครงการไปจัดกระบวนการการเรียนรู้ที่โรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนผ่านการประเมิน และจะได้รับตราพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งต้องผ่านอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะการเรียนรู้ “วิธีการใหม่” และนำมาปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ที่เคยทำมา ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม จนกลายเป็นการเรียนการสอนปกติ แม้ว่าการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย อาจมีความยากลำบากกว่าแนวทางเดิม แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อการเรียนรู้ของนักเรียนก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่น่าชื่นชม ทั้งนี้ ความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการมีผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นที่ Active มีวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่นที่เข้าใจ และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวิทยากรหลักไปถ่ายทอดให้คุณครูในเครือข่ายได้ นำไปสู่ผลสำเร็จที่เกิดจากการทำงานที่สอดประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ 

- Advertisment -

ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธาน บี.กริม และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM กล่าวว่า บี.กริม ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคี ผู้สนับสนุนโครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering, and Mathematics) หรือ STEM ในทุกระดับชั้น ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และ โครงการ B.Grimm BIP School Camp รวมถึงระดับอุดมศึกษา ผ่านโครงการอาชีวศึกษาทวิภาคี ตลอดจนพัฒนาศักยภาพครูและอาจารย์ ผ่านโครงการ Skills4Tech – Technical Teaching and Learning for Industry 4.0 Technicians Program เพื่อปลูกฝัง และพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อร่วมกันส่งเสริม เศรษฐกิจและสังคมไทยในระยะยาว 

นับตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน บี.กริม เพาเวอร์ สนับสนุนโรงเรียนในเครือข่ายท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมี 135 แห่ง อยู่ภายใต้การดูแลของ บี.กริม โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ผ่านการอบรมครู โดยจัดสรรให้พนักงานทำหน้าที่ “นักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรพี่เลี้ยง” เพื่อร่วมสอนและทำกิจกรรมกับครูโรงเรียนในเครือข่าย เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ นอกจากนี้ โครงการยังได้ขยายขอบเขตสู่การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development: ESD) โดยประยุกต์แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา โดยมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนมุมมองจากแนวคิดที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human Centre) สู่แนวคิดที่ให้โลกเป็นศูนย์กลาง (Earth Centre) ของการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่จะต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความตระหนัก (Realise) นำไปสู่การลงมือแก้ไขปัญหา (Act) และเสริมศักยภาพ (Empowerment) อาทิ ปัญหามลพิษและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Action)

ตลอดเวลาที่ผ่านมา โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เปิดโอกาสให้โรงเรียน หน่วยงาน รวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความพร้อม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อส่งเสริมการวางรากฐานทักษะการเรียนรู้ด้าน STEM ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 

Advertisment