วิศวฯ มช. รับมอบอุปกรณ์สาธิต SCADA (Supervisory Control and Data Acquisition) ตามมาตรฐาน IEC 61850 จาก Hitachi Energy (Thailand) Limited

71
- Advertisment-

รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย ฟองสมุทร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับมอบอุปกรณ์สาธิต SCADA จาก ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุลDirector & Vice President, Hitachi Energy (Thailand) Limited ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการสนับสนุนการศึกษา การวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.00 น. ณ อาคารสำนักงานคณะวิศวกรรมศาสตร์

ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากร ถือเป็นรากฐานสำคัญของระบบพลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต ความร่วมมือนี้มีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับวิศวกรในอนาคต ผ่านการศึกษาและการพัฒนาทักษะสหวิทยาการที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน การสนับสนุนและการส่งมอบระบบ SCADA ให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษานี้ ช่วยเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์จริงในการจัดการระบบพลังงานที่ซับซ้อน การดำเนินงานนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรมในการสร้างห้องปฏิบัติการ ‘มีชีวิต’ ที่นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีเพื่อนำมาปรับใช้ในสถานการณ์จริงได้

- Advertisment -

SCADA เป็นระบบควบคุมและเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ในสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อให้สามารถมอนิเตอร์และควบคุมระบบไฟฟ้าจากศูนย์ควบคุมและอุปกรณ์ในระยะไกลได้

บทบาทของ SCADA ในสถานีไฟฟ้าย่อย
 1. เฝ้าระวังและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า
 • ตรวจสอบสถานะเบรกเกอร์, หม้อแปลง, รีเลย์ ฯลฯ
 • สั่งเปิด-ปิดอุปกรณ์จากศูนย์ควบคุมกลาง
 2. เก็บข้อมูลการทำงานของระบบ (Data Acquisition)
 • เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแส กำลังไฟฟ้า ค่าผิดปกติ
 3. วิเคราะห์และแจ้งเตือนเหตุขัดข้อง (Alarm & Event)
 • แจ้งเตือนเมื่ออุปกรณ์มีปัญหา หรือเกิดเหตุขัดข้อง
 • เก็บ Log เพื่อตรวจสอบย้อนหลัง
 4. ควบคุมการทำงานอัตโนมัติร่วมกับรีเลย์ป้องกัน (Protection & Automation)
 • ใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ IEDs เพื่อควบคุมแบบ real-time

ประโยชน์ของการใช้ SCADA ร่วมกับ IEC 61850
 1. การสื่อสารที่เป็นระบบเดียวกัน (Unified Communication)
 • ใช้ภาษาและโปรโตคอลเดียวกันในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น IEDs, HMI, RTU เป็นต้น
 2. เพิ่มความเร็วในการควบคุมและวิเคราะห์ข้อมูล
 • ลดเวลาในการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ไปยังศูนย์ควบคุม
 3. ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
 • ลดการใช้สายสัญญาณแบบเดิม
 • เพิ่มความสะดวกในการปรับเปลี่ยนระบบในอนาคต
 4. รองรับการทำงานแบบอัตโนมัติและ Smart Grid
 • รองรับการควบคุมแบบ real-time และระบบอัจฉริยะ

Advertisment