เศรษฐกิจจีนกดดันราคาน้ำมัน ตลาดขาดความเชื่อมั่นต่อข้อตกลง OPEC+

174
- Advertisment-
  • หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานสถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์วันที่ 4 – 8 ธ.ค. 66 และแนวโน้มในสัปดาห์วันที่ 11 – 15 ธ.ค. 66 โดยระบุว่า การประชุมกลุ่ม OPEC+ เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 66 ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงโควตาการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมัน แม้สมาชิก 8 ประเทศจะประกาศลดการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจ (Voluntary Cut) รวม 2.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในไตรมาส 1/67 แต่ไม่สามารถสร้างความความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน
  • หน่วยงานศุลกากรจีน (General Administration of Customs: GAC) รายงานปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือน พ.ย. 66 ลดลง 9.2% จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 10.33 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงรายปีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 66 เนื่องจากคาดการณ์ว่าปริมาณสำรองน้ำมันดิบในจีนยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่อุปสงค์ในประเทศชะลอตัว
  • เศรษฐกิจจีนเข้าสู่ภาวะเงินฝืด โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics: NBS) รายงานว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI ซึ่งบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ) ในเดือน พ.ย. 66 หดตัว 0.50% จากปีก่อนหน้า หดตัวมากที่สุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI) หดตัว 3.0% จากปีก่อนหน้า หดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 66 และหดตัวติดต่อกัน 14 เดือน
  • กระทรวงพลังงานสหรัฐอเมริกา ประกาศซื้อน้ำมันดิบปริมาณ 3 ล้านบาร์เรล ส่งมอบเดือน มี.ค. 67 เพื่อเก็บในคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) และมีแผนเพิ่มปริมาณสำรองต่อเนื่องถึงเดือน พ.ค. 67 ที่ราคาเป้าหมายไม่เกิน 79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้ ปริมาณสำรองน้ำมันดิบใน SPR สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 1 ธ.ค. 66 อยู่ที่ 351.9 ล้านบาร์เรล
  • จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐอเมริกา (Federal Open Market Committee: FOMC) ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. 66 โดยตลาดคาดว่า FOMC จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25-5.50% และมีแนวโน้มจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายภายในไตรมาส 1/67
Advertisment