IEEE PES Series Talks #3​ ชูเทคโนโลยีไมโครกริดจาก​ 4​ บริษัทชั้นนำของโลก

- Advertisment-

เนื่องในโอกาสครบรอบ 23 ปี ของ สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) (IEEE PES – Thailand) จัดงาน IEEE PES Series Talks #3 โดยคณะทำงาน New Initiative and Outreach (NIO) ในหัวข้อ “เทคโนโลยีและโอกาสการพัฒนาไมโครกริดในประเทศไทยและในอาเซียน” ในวันที่ 25 เมษายน 2566 เวลา 13.00 – 16.00 น. เพื่อเป็นการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีไมโครกริดจากผู้ผลิตชั้นนำของโลก ให้กับวิศวกรและผู้สนใจทั่วไปเพื่อจะได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและประเทศต่อไป

โดยในงานได้รับเกียรติจาก คุณวิศิษฎ์ ศรีนันทวงศ์ Vice Chairman and Chair of New Initiatives and Outreach (NIO), IEEE Power & Energy Society – Thailand กล่าวเปิดงานฯ และผู้บริหารขององค์กรภาคเอกชน ได้แก่ ดร.วรวุฒิ วรุตตมพรสุ Country Managing Director, Hitachi Energy (Thailand) Ltd. คุณมงคล ตั้งศิริวิช Business Vice President- Strategic Accounts Schneider Electric Thailand, Laos & Myanmar Cluster คุณพงษ์ศักดิ์ อรรถวานิช Commercial Leader South East Asia Grid Automation, GE Grid Solutions (Thailand) Ltd. และคุณพีรพัชร ภู่สันติสัมพันธ์ Assistance Vice President, Electrification & Automation, Siemens Ltd. ร่วมเป็นวิทยากร โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 6 อาคารวัฒนวิภาส การไฟฟ้านครหลวง สำนักงานใหญ่ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ

- Advertisment -

โดยสรุปสาระสำคัญ​ของการเสวนาได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีไมโครกริดของแต่ละบริษัทชั้นนำระดับโลก​ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทความต้องการของแต่ละพื้นที่​ โดยแต่ละบริษัทต่างหยิบยกตัวอย่างโมเดลที่ประสบความสำเร็จมาแสดงให้ผู้ชมทั้งในห้องเสวนาและที่รับชมผ่านระบบออนไลน์​ได้เข้าใจในแต่ละบริบท

ทั้งนี้ โอกาสการพัฒนาในประเทศไทย​ สามารถนำเทคโนโลยี​โมโคร​กริด​ จากทั้ง​ 4​ บริษัทมาประยุกต์ใช้​ให้เหมาะสมทั้งในพื้นที่ปลายสายส่งที่ต้องการความมั่นคงไฟฟ้า​ทั้งที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งหลัก และไม่ต้องการการเชื่อมต่อกับระบบสายส่ง รวมทั้งพื้นที่เป็นเกาะ​ โดยผสมผสานการผลิตไฟฟ้าทั้งที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม​ แสงอาทิตย์​ ชีวมวล​ ระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน​ ตามวัตถุประสงค์ที่จะใช้งาน​ และความคุ้มค่าในการลงทุน​ โดยมีตัวอย่างที่ดำเนินการเช่น​ ที่แม่สะเรียง​ เบตง​ เขื่อนสิรินธร​

Advertisment

- Advertisment -.