COVID-19 รอบใหม่ในยุโรปฉุดราคาน้ำมันดิบโลก! คาดสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวระหว่าง 75 – 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

- Advertisment-

ปตท. ระบุราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกโดยเฉลี่ยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (15-19 พ.ย. 2564) ปรับตัวลดลงจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในยุโรป นอกจากนั้น สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรเตรียมระบายน้ำมันจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งจะมีผลกดดันราคาน้ำมันในระยะสั้นอีกด้วย

ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานราคาน้ำมันดิบ NYMEX WTI เฉลี่ยรายสัปดาห์ที่ผ่านมา (15-19 พ.ย. 2564) ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในยุโรป ทำให้ประเทศในยุโรปพิจารณามาตรการ Lockdown อีกครั้ง โดยรัฐบาลออสเตรียเริ่มมาตรการ Lockdown ทั่วประเทศในวันจันทร์ที่ 22 พ.ย. 64 นี้ ให้สถานที่ต่าง ๆ อาทิ ร้านอาหาร โรงละคร ร้านตัดผม ฯลฯ ปิดทำการเป็นเวลา 10 วัน และอาจขยายเป็น 20 วัน และกำหนดให้ทุกคนต้องรับวัคซีน ทำให้ออสเตรียเป็นประเทศแรกในยุโรปที่กลับมาใช้มาตรการควบคุมการระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มงวด ขณะที่เยอรมนี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรป อาจต้อง Lockdown อย่างเต็มรูปแบบเช่นกัน ล่าสุด Worldometers รายงานจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศออสเตรีย ณ วันที่ 21 พ.ย. 64 เพิ่มขึ้น 14,042 ราย และประเทศเยอรมนี เพิ่มขึ้น 4,160 ราย

นอกจากนั้น ตลาดยังติดตามท่าทีของกลุ่ม OPEC+ หลังถูกสหรัฐกดดันอีกครั้งในวันศุกร์ที่ผ่านมา (เรื่องปริมาณการผลิต) โดยล่าสุดสหรัฐฯ มีแนวทางดึงพันธมิตรเก่าแก่ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตลอดจนจีน และอินเดีย พิจารณาการระบายน้ำมันจากคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) โดยนักวิเคราะห์ของ Goldman Sachs กล่าวว่า การปล่อย SPR จะกดดันราคาน้ำมันให้ลดลงในระยะสั้น

- Advertisment -
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยรายสัปดาห์ที่ผ่านมา (15-19 พ.ย. 2564)
ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

ทีมวิเคราะห์ฯ คาดการณ์ว่า ด้านเทคนิค สัปดาห์นี้ (22-26 พ.ย. 2564) ราคา ICE Brent มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 75 – 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และมีโอกาสที่ ICE Brent จะขึ้นไปทดสอบแนวต้านสำคัญ คือ 80 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก – EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 12 พ.ย. 64 ลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 433 ล้านบาร์เรล และปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ (Crude Oil Import) ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 83,000 บาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 6.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ – Joint Organization Data Initiative (JODI) รายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดีอาระเบียในเดือน ก.ย. 64 เพิ่มขึ้น 66,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 6.52 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 64 ขณะที่ปริมาณการผลิต เพิ่มขึ้น 100,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 9.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 63  

Advertisment

- Advertisment -.