โมดูลโซลาร์ของ LONGi คว้าแชมป์ให้ค่าพลังงานสูงสุดจากการทดสอบของ PV Magazine

- Advertisment-

บทความจาก LONGi Solar

 

โมดูลโซลาร์ของ LONGi มาเป็นที่หนึ่งในการทดสอบค่าพลังงานแผงโซลาร์ประเภทติดตั้งในที่กลางแจ้งโดยนิตยสารเยอรมัน PV Magazine ร่วมกับองค์กร CEA ในประเทศสหรัฐอเมริกาและ GSolar จากประเทศจีน

ในการทดสอบมีการสุ่มตัวอย่างจากโมดูลที่ผลิตเพื่อจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาดจำนวน 2,000 ชิ้น และนำโมดูลมาต่อกับ string inverter และ power optimizer ของหัวเว่ย (Huawei) เพื่อดูค่าพลังงานที่ได้ กระบวนการนี้ได้ขจัดความไม่แน่นอนที่โรงไฟฟ้าทั่วไปต้องเจอและแสดงค่าพลังงานจริงๆของโมดูล เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับผู้ที่ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก

- Advertisment -

การทดสอบนี้ใช้มาตรฐานเดียวกันกับทุกโมดูลจากหลากหลายบริษัทผู้ผลิต ณ ขณะนี้ได้ข้อมูลจากโมดูลหลายประเภท ทั้ง โมโนคริสตัลไลน์ (monocrystalline) และ โพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline) แบบทั่วไป แผงโซลาร์ monofacial แผงโซลาร์ bifacial และแผง N Type bifacial ที่ทำจากเซลล์ PERC โดยตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ถึงเดือนพฤษภาคม 2563 มีการทดสอบโมดูลของ LONGi ประเภท monofacial, bifacial  และแบบ half-cell bifacial ซึ่งทั้งหมดแสดงค่าพลังงานไฟฟ้าที่สูงมาก

โมดูลเซลล์โมโนคริสตัลไลน์ แบบ monofacial PERC (LR6-60PE) ของ LONGi เป็นตัวแรกที่ถูกนำมาทดสอบ โดยผลการทดสอบพบว่าแม้ว่าจะมีการผลิตโมดูลใหม่ๆประเภทเดียวกันออกมาตลอดสองปีที่ผ่านมา แต่โมดูล LR6-60PE ของ LONGi นี้ ก็ยังให้ค่าพลังงานอันดับหนึ่ง นั่นคือ 1,192 kWh/kWp จากการทดสอบในพื้นที่กลางแจ้งในเมืองซีอาน เทียบกับโมดูลอื่นอีก 8 โมดูลที่ได้รับการทดสอบพร้อมกัน และยังพบว่าประสิทธิภาพการให้ค่าพลังงานของโมดูลที่ผลิตจากโรงงานต่างๆ มีความแตกต่างกันมาก อีกทั้งโมดูลจากบางโรงงานยังให้ค่าพลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโมดูลแบบ polycrystalline โดยเฉลี่ย

ต่อมา โมดูลเซลล์ bifacial PERC (LR6-60BP) ของ LONGi ก็เข้าร่วมการทดสอบในเดือนพฤศจิกายน 2561 และค่าพลังงานก็มาเป็นอันดับหนึ่งในโมดูลประเภทเดียวกัน นั่นคือ 99.2 kWh/kWp เมื่อเปรียบเทียบกับโมดูล monofacial ค่าพลังงานจากด้านหลังแผงของโมดูล LR6-60BP ของ LONGi สูงกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ (โดยในการทดสอบมีการใส่กรวดลงไปบนพื้นช่วงเดือนกันยายน 2562)

และสืบเนื่องจาก LONGi ได้นำเทคโนโลยีโมดูลแบบครึ่งเซลล์มาใช้อย่างเต็มรูปแบบในการผลิต จึงได้นำโมดูลbifacial ครึ่งเซลล์ของ LONGi (LR6-72HBD) เข้ารับการทดสอบในเดือนกันยายน 2562 โดยจากรายงานการวิจัยของ LONGi ร่วมกับ China Electrical Institute (CEI) ก่อนหน้านี้ (ภายใต้หัวข้อ “Empirical data from the China Electric Institute (CEI) verifies the power generation performance of LONGi’s bifacial half-cell module at its pilot project in Qionghai, Hainan”)  ชี้ว่าค่าพลังงานของโมดูลแบบครึ่งเซลล์ LR6-72HBD ของ LONGi จะสูงขึ้นเล็กน้อยจากการเพิ่มขึ้นของรังสีจากดวงอาทิตย์ และค่าพลังงานของโมดูลแบบเต็มเซลล์จะสูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อรังสีจากดวงอาทิตย์ลดลง และจากการทดสอบของนิตยสาร PV Magazine ก็ปรากฎผลการทดสอบที่ใกล้เคียงกัน นั่นคือค่าพลังงานของโมดูลแบบครึ่งเซลล์สูงในช่วงเดือนที่มีแดดจัด

ค่าพลังงานรายเดือนสำหรับเดือนพฤษภาคม 2020 ที่ผ่านมา ที่แสดงอยู่ในแผนภาพข้างล่างนี้ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการให้ค่าพลังงานของโมดูลทั้งสามประเภทดังกล่าวของ LONGi ว่ามีค่าพลังงานสูงกว่าโมดูลแบบเดียวกันจากโรงงานผู้ผลิตอื่นที่นำมาเปรียบเทียบอย่างชัดเจน และโมดูล PERC bifacial ของ LONGi ยังให้ค่าพลังงานสูงกว่าโมดูลแบบ  N-type TOPCon ที่นำมาร่วมทดสอบอีกด้วย

ข้อมูลจากการทดสอบทั้งสองปี ยืนยันการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของโมดูลรุ่นก่อนๆของ LONGi  ในด้านค่าพลังงาน ทั้งนี้ LONGi ให้ความสำคัญกับประโยชน์ของลูกค้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด โดยโมดูลรุ่นใหม่ได้รับการพัฒนาขั้นสุดใน 3 ด้านคือ ต้นทุนในการวางระบบ ค่าพลังงานที่ได้ และ ความเสถียร ทั้งนี้ เมื่อไม่นานมานี้ LONGi ออกโมดูล Hi-MO 5 สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยแผงด้านหน้าสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 540 วัตต์และประสิทธิภาพไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 21% และค่าพลังงานที่ยังสูงเหมือนโมดูลตัวอื่นๆในรุ่นเดียวกัน LONGi ยังได้นำเทคโนโลยีบัดกรีอัจฉริยะ (Smart Soldering) มาใช้กับ Hi-MO 5 เพื่อให้รับแสงได้สูงสุดและการเชื่อมต่อเซลล์ให้มีช่องว่างที่เล็กลง เนื่องจากโมดูล Hi-MO 5 นี้มีการออกแบบให้เข้ากับเครื่องจักรการผลิตที่มีอยู่และรูปแบบของโรงไฟฟ้า จึงสามารถช่วยลูกค้าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่มากลดค่าใช้จ่ายด้านระบบ และมีต้นทุนการผลิตไฟฟ้า (LCOE) ที่ดีที่สุด

หากคุณสนใจในความร่วมมือกรุณาติดต่อ: Fiona ที่ Email: mowei@longigroup.com              หรือ Line ID: fiona101v

LinkedIn: www.linkedin.com/company/longi-solar

Facebook: https://www.facebook.com/LONGiSolar/

 

 

 

 

Advertisment

- Advertisment -.