เสนอรัฐเร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เพื่อพัฒนาแหล่งก๊าซ ก่อนที่จะถูกด้อยค่า

- Advertisment-

ERS เสนอรัฐเร่งพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมของไทยก่อนที่จะด้อยค่า ทั้งการเปิดสัมปทานรอบ 23 การพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา รวมถึงการนำพื้นที่ภาคเหนือที่อยู่ใต้กรมการพลังงานทหารมาอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ.2560 เพื่อนำผลประโยชน์มาเป็นรายได้ส่วนกลางของรัฐ

นายคุรุจิต นาครทรรพ อดีตปลัดกระทรวงพลังงานหนึ่งในแกนนำกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน (ERS) เปิดเผยว่า หนึ่งในข้อเสนอของ ERS ที่ให้รัฐเร่งดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องของปิโตรเลียมคือ การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 23 เพื่อให้มีปริมาณสำรองก๊าซในอ่าวไทย ที่เป็น Wet Gas ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมี ที่สามารถป้อนเข้าโรงแยกก๊าซเพื่อให้ได้ก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ที่จะมีราคาถูกกว่า LPG นำเข้า มาใช้ประโยชน์ได้ โดยหากรัฐไม่เร่งพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย ในอนาคตหากมีการพัฒนาพลังงานทางเลือกอื่นๆมาทดแทน ทรัพยากรก๊าซธรรมชาติในประเทศจะถูกด้อยค่าลงได้

นอกจากนี้ยังเสนอให้เร่งเจรจาเพื่อให้ได้ข้อยุติเพื่อนำไปสู่ การพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา โดยเร็ว โดยพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่คล้ายกับแหล่งเอราวัณ และแหล่งน้ำมันสุราษฎร์ฯ ที่มีการสำรวจพบและดำเนินการผลิตปิโตรเลียม ทำให้เชื่อได้ว่าจะมีศักยภาพสูงในการสำรวจพบปิโตรเลียมเช่นเดียวกัน

- Advertisment -

ทั้งนี้หากมีการเจรจาได้ข้อยุติในปีนี้ ก็ต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 10 ปี จึงจะผลิตก๊าซขึ้นมาใช้ได้

ERS ยังเสนอให้มีการนำพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านปิโตรเลียมในภาคเหนือที่อยู่ภายใต้กรมการพลังงานทหารมาอยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ.2560 เพื่อนำผลประโยชน์มาเป็นรายได้ส่วนกลางของรัฐด้วย

 

 

Advertisment

- Advertisment -.