ฮิตาชิ​ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์​ รับนิสิตวิศวะไฟฟ้า​ จุฬาฯ​ฝึกงาน​ ถ่ายทอดประสบการณ์ระดับโลก

- Advertisment-

ฮิตาชิ​ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์​ ประเทศไทย​ เปิดโอกาสให้นิสิต​ ภาควิชาไฟฟ้า​ คณะวิศวกรรมศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ 16​ คน​ ได้รับประสบการณ์​กับระบบฝึกงานที่มีมาตรฐานระดับโลก​ ใน​ 11 ​หัวข้อ​ที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี​ Digital Energy​ Transformation ซึ่งจะตอบโจทย์ตลาดงานหลังจบการศึกษา​

การฝึกงานดังกล่าวอยู่ภายใต้ความร่วมมือโครงการ​ Support​ing​ Apprentice​ Students Program ระหว่างภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า​ คณะวิศวกรรมศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ กับ บริษัท​ ฮิตาชิ​ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์​ ประเทศไทย​ โดยมี รศ.​ ดร.​ ธวัชชัย​ ชรินพาณิชกุล รองคณบดี​คณะวิศวกรรมศาสตร์​ รศ.​ ดร.แนบบุญ​ หุนเจริญ​ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า​ และ​ดร.​ประดิษฐพงศ์​ สุขสิริถาวรกุล​ Director &​ Vice President, HAPG ฮิตาชิ​ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์​ ประเทศไทย​ ร่วมแถลงถึงความร่วมมือโครงการเมื่อวันที่​ 7 ​เม.ย. 2564​

โดยประเด็นที่น่าสนใจ​คือทางภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าจะคัดเลือกนิสิตชั้นปีที่ 2 และ 3​ ที่มีความสนใจ​จำนวน​ 16​ คน​เข้าฝึกงานที่บริษัท​ ฮิตาชิ​ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์​ ประเทศไทย​ เป็นระยะเวลา​ 360 ชั่วโมง​ ตั้งแต่วันที่​ 31​ พฤษภาคม​ -​ 30​ กรกฎาคม​ 2564​ โดยนิสิตจะมีโอกาสได้เรียนรู้ระบบการฝึกงานที่จะเป็นประสบการณ์ตรงและรับคำแนะนำจากพี่เลี้ยงและผู้เชี่ยวชาญของบริษัทตลอดระยะเวลาการฝึกงาน ภายใต้ขอบเขตงานเฉพาะด้านวิศวกรรมที่ทางบริษัทเตรียมไว้ให้​ จำนวน​ 11 ​ด้าน​ อาทิ​ Grids Edge Solution, Micro​grid​, & Battery​Energy​ Storage​ System​, SCADA and Control System​, Power ​Quality, Smart​ Grids​ and​ Virtual Power​ Plant (VPP), Enterprise Software and​ The Digital Energy​ Transformation

- Advertisment -

รศ.​ ดร.แนบบุญ​ หุนเจริญ​ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า​ คณะวิศวกรรมศาสตร์​ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย​ กล่าวว่า​ นิสิตมีความรู้พื้นฐานในห้องเรียนของมหาวิทยาลัย​อยู่แล้ว​ แต่ยังขาดทักษะและประสบการณ์​ตรง​จาก​สถานประกอบการจริง​ ดังนั้น​ การให้นิสิต​ ชั้นปีที่ 2​ และ 3​ ได้มีโอกาสฝึกงานในสถานที่จริง ได้พบปะกับผู้คนในระบบการทำงานจริงรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน​ จึงเป็นการเตรียมความพร้อม​ ที่จะได้รู้ว่าตลาดงานต้องการอะไร​ ลูกค้าต้องการอะไร​ เพื่อที่จะออกแบบ​ผลงานในช่วงของการเรียนให้สอดคล้องกัน​ บริษัทต่างๆ ในตลาดงานจะได้มาจองตัวตั้งแต่ช่วงที่ยังไม่จบการศึกษา​ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ win- win กันทุกฝ่าย​ ทั้ง​มหาวิทยาลัย​ที่ผลิตนิสิตออกมามีคุณภาพ​ ตัวของนิสิตที่จบการศึกษา​และได้ทำงานที่ตัวเองมีความสนใจ รวมถึงบริษัทที่จะได้พนักงานที่มีความรู้และประสบการณ์ตรงตา​มความต้องการ

ดร. ​ประดิษฐพงศ์​ สุขสิริถาวรกุล​ Director &​ Vice President, HAPG ฮิตาชิ​ เอบีบี เพาเวอร์กริดส์​ ประเทศไทย​ กล่าวว่า​ นิสิตและนักศึกษาที่เข้ามาฝึกงานกับบริษัท​ จะได้เลือกฝึกงานในขอบเขตงานที่สนใจโดยที่จะมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ​ ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญของ​ บริษัทในต่างประเทศ​ ตลอดจนเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย

โดยในแต่ละปี​ บริษัทมีงบประมาณในการทำงานด้าน ​R&D ประมาณ ​6-7 % ของรายได้​ หรือประมาณ​ 6-7 หมื่นล้านบาทต่อปี​ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร​ในมหาวิทยาลัยทั่วโลก​ เป็นการลงทุนเพื่อสังคม​ที่ไม่คาดหวังว่าจะรีเทิร์นกลับมายังบริษัท​ แต่จะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในภาพรวม

ดังนั้น นิสิตที่มาฝึกงานกับบริษัทหลังจากที่ได้เรียนรู้ทักษะและประสบการณ์​ที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพ​แล้ว​ สามารถที่จะเลือกทำงานกับบริษัทอื่นๆ ได้ตามความต้องการ​ โดยไม่เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องมาทำงานกับ​ฮิตาชิ​ เอบีบี​ ​เท่านั้น

Advertisment

- Advertisment -.