ห่วงร่างจัดหาไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนของ กกพ. ไม่แก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 และความเหลื่อมล้ำในสังคม

- Advertisment-

กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ห่วงร่างระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนของรัฐบาล ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยเสนอแนะให้มีการจัดลำดับความสำคัญในการส่งเสริมโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนที่ใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และชีวมวลจากชุมชนก่อน ชีวมวลที่มาจากโรงงาน

ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center-ENC ) รายงานว่า   นายธีระพล ติรวศิน
ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 3 เม.ย.2563 ถึง นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)และโฆษก กกพ.  โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับร่างระเบียบคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ที่ทางสำนักงาน กกพ. เปิดรับฟังความเห็นทางเว็บไซต์ มาตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค.2563 ที่ผ่านมา ว่ายังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล ในเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการด้านการจัดการมลพิษ ของเสีย และวัสดุเหลือใช้ในประเทศไทย มีข้อเสนอแนะให้ กกพ.ควรจัดลำดับความสำคัญในการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ให้สามารถใช้ชีวมวลที่ถูกเผาทิ้งในพื้นที่เปิด (Open Burning) ซึ่งก่อปัญหาด้านฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย เป็นลำดับแรก  ก่อนที่จะพิจารณาประเภทเชื้อเพลิงอื่นๆ

- Advertisment -

โดยเห็นว่าการพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการที่ใช้ชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นลำดับแรก จะเป็นกลไกผลักดันให้เกิดการเก็บรวบรวมชีวมวลให้มีความคุ้มค่า
และช่วยแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างได้ผล  บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายของรัฐบาลได้

นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ในด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์
ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งของการจัดตั้งโครงการ   กกพ.ก็ควรจะมีการจัดลำดับความสำคัญ (Priority) ในการรับซื้อชีวมวลที่เป็นผลผลิตจากชุมชน ก่อนชีวมวลที่เกิดจากโรงงานแปรรูป

สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานนั้น กำหนดไว้
4 ด้าน ได้แก่ (1) โรงไฟฟ้าชุมชนจะใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก (2) โรงไฟฟ้าชุมชนจะมุ่งช่วยเหลือดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและใช้ประโยชน์จากของเสียจากการเกษตร (3) โรงไฟฟ้าชุมชนจะผลักดันให้ยุทธศาสตร์องค์กรผ่านแนวทางกิจการเพื่อสังคม และ (4) โรงไฟฟ้าชุมชนจะเพิ่มศักยภาพชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

Advertisment

- Advertisment -.