กบง.รับทราบการเจรจาสัญญาก๊าซระยะยาวของกฟผ.และปตท.ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป

- Advertisment-

กบง.รับทราบความคืบหน้าการเจรจาสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ในส่วนสัญญา Global DCQ ระหว่าง ปตท.และกฟผ.ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป แต่รัฐมนตรีพลังงานเชื่อว่าจะเกิดการลงนามในสัญญากันได้ภายในเดือน ธ.ค. 2562 นี้

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)เมื่อวันที่4ธ.ค.2562 ว่าที่ประชุมฯ รับทราบรายงานความก้าวหน้าของสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง ปตท. และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หรือสัญญา Global DCQซึ่งเป็นสัญญาเพื่อใช้กับโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงก๊าซฯ และมีความยืดหยุ่นในการจัดหาเชื้อเพลิง ก๊าซฯ โดยเสรีที่ไม่มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้า ภายใต้แผนความต้องการใช้ก๊าซฯของประเทศ  ที่กำหนดปริมาณความต้องการใช้ก๊าซฯ เฉลี่ยรายวัน (DCQ) ซึ่งการหารือร่วมกันระหว่าง ปตท. และ กฟผ.ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยยังมีบางประเด็นต้องเจรจาเพิ่มเติม

 อย่างไรก็ตาม คาดว่าสามารถดำเนินการลงนามสัญญา Global DCQ ได้ภายในปี 2562 นี้ จากนั้นขั้นตอนต่อไปจะเป็นกระบวนการพิจารณาจากคณะกรรมการ กฟผ. อัยการสูงสุด กบง. และนำเสนอ กพช. ต่อไป

- Advertisment -

แหล่งข่าวกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมา ปตท.และ กฟผ.มีสัญญาซื้อขายก๊าซฯระยะยาวระหว่างกัน แต่สัญญาดังกล่าวสิ้นสุดตั้งแต่ปี 2558 และมีการทำสัญญาระยะสั้นแบบปีต่อปีมาตลอด  เนื่องจาก กฟผ.ได้รับมอบหมายจากภาครัฐให้นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าของ กฟผ.เอง ทำให้การตกลงปริมาณซื้อขายก๊าซฯระหว่าง ปตท.กับ กฟผ.ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม หากการเจรจาเพื่อตกลงทำสัญญาซื้อขายก๊าซระยะยาว ของกฟผ.และปตท.ยังไม่ได้ข้อสรุปก็ต้องใช้รูปแบบทำสัญญาแบบปีต่อปีเช่นเดิมไปก่อน

แต่หากตกลงสัญญาระยะยาวระหว่างกันได้ก็จะเป็นประโยชน์กับทางผู้ขาย ที่จะขายได้ระยะยาวและผู้ซื้อก็สามารถได้รับก๊าซฯที่แน่นอนในปริมาณที่ต้องการ  เพียงแต่ บทบาทของกฟผ. ที่จะเป็นคู่แข่งขันกับ ปตท.ในการจัดหาLNG ตามนโยบายเปิดเสรีก๊าซ จะลดลง เพราะดีมานด์ส่วนใหญ่ ถูกทำสัญญาระยะยาว กับปตท.เอาไว้แล้ว

Advertisment

- Advertisment -.