ปตท.ปรับวิสัยทัศน์​และแผนกลยุทธ์ใหม่เน้นพลังงานอนาคต เพิ่มเป้าลงทุนไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน​ เป็น 12,000 MW ภายในปี 2030

2559
- Advertisment-

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 และบริบทของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไปทำให้ปตท.มีการปรับวิสัยทัศน์และทิศทางกลยุทธ์ในแต่ละธุรกิจจนถึงปี2030 ใหม่ เป็น Powering Life with Future and Beyond คือการมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานในอนาคตและเติบโตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน ที่จะมีสัดส่วนการลงทุนรวมกัน 32%ของการลงทุนทั้งหมด โดยเฉพาะธุรกิจพลังงานหมุนเวียน มีการปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้นจาก 8,000 เมกะวัตต์เป็น12,000 เมกะวัตต์

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยในการแถลงข่าวกับสื่อมวลชนผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2564 ว่า การปรับวิสัยทัศน์และทิศทางกลยุทธ์ในแต่ละธุรกิจจนถึงปี2030 ใหม่ เป็น Powering Life with Future and Beyond คือการมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานในอนาคตและเติบโตในธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน จากวิสัยทัศน์เดิมที่ใช้ว่า Powering Thailand Transformation เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลกตั้งแต่ปี2563จนถึงปัจจุบันที่ทำให้บริบททางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆเปลี่ยนไปรวมทั้งแนวโน้มของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์

ทั้งนี้ในการจัดทำแผนผลยุทธ์ในแต่ละธุรกิจที่มองไปถึงปี 2030 หรืออีก 9 ปีข้างหน้าซึ่งจะมีการทบทวนแผนกันทุกปีนั้น ได้มีการปรับให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ใหม่โดยในการลงทุนที่เกี่ยวกับพลังงานในอนาคตหรือ future energy และธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงานนั้น จะมีสัดส่วนรวมกันถึง 32% ของการลงทุน

- Advertisment -

โดยธุรกิจที่เป็นพลังงานในอนาคตจะมีสัดส่วนการลงทุนประมาณ 15% ได้แก่ พลังงานหมุนเวียนที่มีการปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากเดิมจาก8,000 เมกะวัตต์ เป็น12,000 เมกะวัตต์ภายในปี2030 ธุรกิจแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานหรือ Energy Storage System ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร หรือ EV value chain และธุรกิจพลังงานจากไฮโดรเจน ส่วนธุรกิจที่ไปไกลกว่าพลังงานหรือ beyond ที่จะมีสัดส่วนการลงทุนประมาณ 17%นั้น จะเกี่ยวกับด้าน Life Science , Mobility and lifestyle ,Logistics and infrastructure. ธุรกิจ AI and Robotics digitalization และธุรกิจที่เป็น High value business

สำหรับกลยุทธ์ในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จะเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงโดยเฉพาะในแหล่งก๊าช ส่วนธุรกิจก๊าซจะกระจายความเสี่ยงจากที่ขนส่งทางระบบท่อ ไปเน้นเรื่อง global LNG portfolio สำหรับธุรกิจปิโตรเคมีและโรงกลั่น จะมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ในขณะที่ธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก จะเน้นการตอบโจทย์ผู้บริโภค มุ่งสู่ mobility and lifestyle และธุรกิจไฟฟ้าจะเป็นการขยายการลงทุนในโรงไฟฟ้าบางกลุ่มในไทยและภูมิภาค

นายอรรถพล กล่าวด้วยว่า กระบวนทัศน์ทางธุรกิจของกลุ่ม ปตท.ที่ปรับใหม่นั้นยังสอดคล้องกับนโยบาย4 D ของรัฐบาลและกระทรวงพลังงานด้วย ทั้งเรื่อง Digitalization Decabonization Decentralization และ Derisk ที่เป็นการกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจ

Advertisment