
กกพ. ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก ขายไฟในโครงการ “SPP Hybrid” ทั่วประเทศ จำนวน 17 ราย รวมปริมาณพลังไฟฟ้าที่ เสนอขาย300 เมกะวัตต์ ตามเป้าหมาย โดย กลุ่มบริษัทไทยโก้ เทคโนโลยี จำกัด ได้ขายไฟมากที่สุดถึง4โครงการ รวมปริมาณพลังไฟฟ้าที่ เสนอขายได้เกือบ70เมกะวัตต์
นางสาวนฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนั กงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลั งงาน ในฐานะรองโฆษก กกพ. เปิดเผยถึงผลการรับซื้อไฟฟ้ าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลั งงานหมุนเวียนรูปแบบ SPP Hybrid Firm ปี 2560 ว่า มีโครงการที่ผ่านการประเมินข้ อเสนอด้านราคาและเป็นผู้ที่ได้ รับคัดเลือกให้ลงนามในสัญญาซื้ อขายไฟฟ้าจำนวน 17 โครงการ โดยมีปริมาณเสนอขายรวมทั้งสิ้น 300 เมกะวัตต์ และกำลังผลิตติดตั้งรวม 434.60 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายการรับซื้ อไม่เกิน 300 เมกะวัตต์
โดยผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 17โครงการ นั้น แบ่งเป็น ภาคใต้ 5 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 100.85 เมกะวัตต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 84.13 เมกะวัตต์ ภาคเหนือ 4 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 71.02 เมกะวัตต์ ภาคตะวันตก 1 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 16 เมกะวัตต์ ภาคตะวันออก 1 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 16 เมกะวัตต์ และภาคกลาง 1 โครงการ ปริมาณเสนอขาย 12 เมกะวัตต์ โดยคัดจากจำนวน42โครงการที่ผ่ านการพิจารณาคุณสมบัติและข้ อเสนอด้านเทคนิค (ขนาดกำลังผลิตติดตั้งรวม 1,062.2 เมกะวัตต์ โดยมีปริมาณพลังไฟฟ้ าเสนอขายรวมทั้งสิ้น 755.3 เมกะวัตต์) ไปเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2560 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ โครงการที่ให้ส่วนลดค่าFeed in Tariff -FiT มากที่สุด 99.99% มี2โครงการ คือ ของบริษัทเกษตรผล เพาเวอร์แพลนท์ จำกัด ที่จังหวัดอุดรธานี มีปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขาย 27 เมกะวัตต์ และอีกโครงการเป็นของ บริษัทอุตสาหกรรมโคราช จำกัด จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขาย 13.84 เมกะวัตต์ ส่วนโครงการที่ให้ส่วนลดเป็นอั นดับ17 ที่ผ่านการพิจารณา คือของบริษัท พีเอสที เอนเนอร์ยี 1จำกัด ให้ส่วนลด 15.60% อยู่ที่จังหวัดแพร่ มีปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขาย 25 เมกะวัตต์
ในขณะที่กลุ่มบริษัทที่มี โครงการผ่านการคัดเลือกมาก ที่สุด คือ ของ บริษัทไทยโก้ เทคโนโลยี จำกัด ที่ผ่านการพิจารณา ถึง4 โครงการ โดยใหห้อัตราส่วนลด FiT 81.19 % จำนวน 3 โครงการ คือที่ กระบี่ ชุมพร และอุดรธานี ส่วนอีก1โครงการ อยู่ที่ชุมพร ให้ส่วนลด FiT 71.19 % รวมจำนวนพลังไฟฟ้าที่เสนอขายที่ ได้ทั้ง 4โครงการ จำนวน 69.85 เมกะวัตต์
ส่วนกลุ่มน้ำตาลมิตรผล นั้นได้มา1โครงการ คือ บริษัทมิตรผล ไบโอ เพาเวอร์ (ภูเวียง) จำกัด ให้ส่วนลด FiT 79.56% มีปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายที่ได้ 16 เมกะวัตต์ (รายละเอียด17โครงการที่ผ่ านการคัดเลือก ดูได้ตามตารางด้านล่าง)


หลังจากนี้ ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่ วมโครงการทั้ง 17 โครงการ ต้องเร่งดำเนินการจั ดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่ งแวดล้อม (EIA) หรือรายงานการปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่ งแวดล้อม (Code of Practice: CoP) ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ทันกำหนดวันลงนามในสั ญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. ภายในวันที่ 13 ธ.ค. 2562 และสามารถดำเนินการจ่ายไฟฟ้าเข้ าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค.2564