“กุลิศ”ชูนโยบายพลังงาน 4D1E รับมือการเปลี่ยนแปลงยุค ดิสรัปชั่น

- Advertisment-

ปลัดพลังงาน​ ชูนโยบาย 4 D 1E คือ1.DIGITALIZATION  2.DECARBONIZATION 3.DECENTRALIZATION และ4.DE-REGULATION  1.ELECTRIFICATION รับมือยุคการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วที่ส่งผลกระทบต่อวงการพลังงาน (Disruption) ซึ่งจะมีทั้งการยกระดับโครงข่ายไฟฟ้าให้เป็น smart grid   ระบบกักเก็บพลังงาน(Energy Storage System) เชื่อมโยงโรงไฟฟ้าระดับชุมชน ที่มาจากแสงอาทิตย์ ชีวภาพ และชีวมวล

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวปาฐกถาพิเศษ “พลังงาน ยุค…ดิสรัปชั่น”ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อวันที่5สิงหาคม2562ว่า นโยบายของกระทรวงพลังงานเพื่อรองรับยุคดิสรัปชั่น  เรียกว่า 4D และ 1 E คือ  1.DIGITALIZATION  2.DECARBONIZATION 3.DECENTRALIZATION 4.DE-REGULATION  และ1 ELECTRIFICATION

โดย1.DIGITALIZATION จะเร่งยกระดับโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าให้เป็นระบบอัจฉริยะหรือsmart grid  ด้วยการปรับโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะขยายแรงดันสายส่งไฟฟ้าจาก 115 เควี เป็น 500 เควี หรือ 800 เควี เพื่อให้สามารถรองรับไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนและเข้าถึงพื้นที่ชุมชนได้  รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน(Energy Storage System) เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้าทั้งในชุมชนและโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่

- Advertisment -

เรื่องของ .DECARBONIZATION  เป็นการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ชีวภาพ ชีวมวล และการให้ภาคพลังงานดูดซับสินค้าเกษตรส่วนเกินเพื่อยกระดับราคา ผ่านการผลิตและการใช้ไบโอดีเซล บี7 บี10และ บี20

3.DECENTRALIZATION เป็นการสนับสนุนการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านระบบสายส่งและนอกระบบสายส่งให้เกิดการซื้อขายระหว่างกัน  การสนับสนุนให้จัดตั้งโรงไฟฟ้าระดับชุมชน การสำรวจและจัดทำแผนที่เครือข่ายพลังงานทั่วประเทศ  การสร้างความสมดุลของพื้นที่ไฟฟ้าในทุกภูมิภาค

4.DE-REGULATION เป็นการเปิดพื้นที่เฉพาะให้สามารถพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านพลังงานได้โดยผ่อนปรนกฏระเบียบที่เป็นอุปสรรคให้ (Sandbox ) การส่งเสริมให้เกิดstart upด้านพลังงาน การแก้ไขกฏเกณฑ์ให้นำเงินจากกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานมาใช้ในการสนับสนุนธุรกิจพลังงานชุมชน   การปลดล็อคพลังงานที่ผลิตจากภาคประชาชนให้เข้าสู่ระบบสายส่งหรือGrid ได้

ส่วน 1E คือ ELECTRIFICATION เป็นการขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าและส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

นโยบาย4D1Eของกระทรวงพลังงาน

ทั้งนี้ในพื้นที่ Sandboxได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมฯ ระหว่าง 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) , รวมทั้งผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.),สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.),คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เพื่อร่วมมือกันจัดทำแผนให้สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานทดแทนในอนาคต(Grid connection)

อีกทั้ง จะต้องแก้กฎหมาย ของ กฟผ.จากรับซื้ออย่างเดียวให้สามารถขายไฟฟ้าได้ด้วย เพื่อรองรับการเป็นเทรดเดอร์ หรือ การเป็นศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค และจะผลักดันเรื่องนี้ ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ที่ไทยเป็นเจ้าภาพในวันที่ 3 ก.ย.นี้ ที่จะหารือเรื่องของ grid connectivity เชื่อมโยงไฟฟ้ากับภูมิภาคด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เพื่อร่วมกันประเมินและกำหนดศักยภาพของเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าชุมชนที่จะเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมด้วย

“ในสัปดาห์หน้าจะเรียกประชุมคณะทำงานฯ เพื่อจัดทำโครงการต้นแบบนำร่อง (pilot project) เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าชุมชน ที่มีการผลิตไฟฟ้าใช้เองและส่วนที่เหลือใช้ให้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเองในพื้นที่Sanbox  ที่จะทดสอบเทคโนโลยีซื้อขายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ คาดว่าจะเห็นผลภายใน 3 เดือน และหากสำเร็จก็จะนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ต่อไป

Advertisment

- Advertisment -.